วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ดอกไม้ประจำชาติ เวียดนาม

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam) : ดอกบัว ประเทศเวียดนามมีดอกไม้ที่คนไทยคุ้นเคยอย่าง ดอกบัว (Lotus) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดย ดอกบัวเป็นที่รู้จักกันในนาม “ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ” เป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความ ผูกพันและการมองโลกในแง่ดี ดอกบัวจึงมักถูกกล่าวถึงในบทกลอนและเพลงพื้นเมืองของชาว เวียดนามอยู่บ่
อยครั้ง

ดอกไม้ประจำประเทศสิงคโปร์

สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore) : ดอกกล้วยไม้แวนด้า ประเทศสิงคโปร์ มี ดอกกล้วยไม้แวนด้า (Vanda Miss Joaquim) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกกล้วยไม้แวนด้าตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ คือ Miss Agnes Joaquim จัดเป็นดอกกล้วย ไม้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ มีสีม่วงสดสวยงามและเบ่งบานอยู่ตลอดทั้งปี โดยถูกจัดให้เป็นดอกไม้ประจำชาติสิง
คโปร์ตั้งแต่ปี ค.ศ.1981 (พ.ศ.2524)

ดอกไม้ประจำชาติฟิลิปปินส์

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) : ดอกพุดแก้ว ดอกไม้ประจำชาติฟิลิปปินส์ คือ ดอกพุดแก้ว (Sampaguita Jasmine) ดอกมีสีขาวกลีบ ดอกเป็นรูปดาว มีกลิ่นหอม บานส่งกลิ่นในตอนกลางคืน ถือเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เรียบง่าย อ่อนน้อมถ่อมตน รวมถึงความเข้มแข็งอีกด้วย เคยถูกนำมาใช้เฉลิมฉลองในตำนาน เรื่องเล่ารวมทั้งบทเพลงของฟิลิปปินส์ด้วย เ
ช่นกัน

ดอกไม้ประจำประเทศมาเลเซีย

ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) : ดอกพู่ระหง สำหรับประเทศมาเลเซียนั้น มีดอกไม้ประจำชาติเป็น ดอกพู่ระหง (Bunga Raya) ในภาษา ท้องถิ่นเรียกกันว่า บุหงารายอ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ดอกชบาสีแดง ลักษณะกลีบดอก เป็นสีแดง มีเกสรยื่นยาวออกมาเหนือดอก ซึ่งถูกจัดให้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซีย เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ โดยเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมให้สูงส่งแ
ละ สง่างาม รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในทางการแพทย์และความงามได้อีกด้วย

ดอกไม้ประจำชาติของประเทศพม่า

สหภาพพม่า (Union of Myanmar) : ดอกประดู่ ดอกไม้ประจำชาติของประเทศพม่า คือ ดอกประดู่ (Paduak) เป็นดอกไม้ที่พบมากในประเทศ พม่า มีสีเหลืองทอง ผลิดอกและส่งกลิ่นหอมในฤดูฝนแรก ช่วงเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงเวลา เดียวกับที่ประเทศพม่ามีการเฉลิมฉลองปีใหม่ ขึ้น ชาวพม่าเชื่อว่าดอกประดู่คือสัญลักษณ์ของ ความแข็งแรง ความทนทาน และเป็นดอกไม้ที่ขาดไม่ได้ในพิธีทางศา
สนาของชาวพม่า

ดอกไม้ประจำชาติไทย

ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand) : ดอกราชพฤกษ์ ดอกไม้ประจำชาติไทย คือ ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek) ที่มีสีเหลืองสวยสง่างาม ถือ เป็นสัญลักษณ์ของความมีเกียรติยศศักดิ์ศรี ชาวไทยหลายคนรู้จักกันในนามของ "ดอกคูน" โดยมีความเชื่อว่าสีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์ คือ สีแห่งพระพุทธศาสนาและความรุ่ง โรจน์ รวมทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีปรองดองของคนในชา
ติอีกด้วย โดยดอก ราชพฤกษ์จะเบ่งบานในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม มีจุดเด่นเวลาเบ่งบานคือการผลัด ใบออกจนหมดต้น เหลือไว้เพียงแค่สีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์เท่านั้น

ดอกไม้ประจำชาติของลาว

ดอกไม้ประจำชาติของลาว ดอกไม้ประจำชาติประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างประเทศลาว คือ ดอกจำปาลาว (Dok Champa) คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ ดอกลีลาวดี หรือ ดอกลั่นทม โดยดอกจำปาลาวมักมีสีสันหลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นเพียงสีขาวเท่านั้น เช่น สีชมพู สีเหลือง สีแดง หรือสีโทนอ่อนต่าง ๆ โดยดอกจำปาลาวนั้นเป็นตัวแทนของความสุขและความจริงใจ จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อประดับประดาในงานพิธีต่าง ๆ รวมทั้งใช้เป็นพวง
มาลัยเพื่อรับแขกอีกด้วย

ดอกไม้ประจำชาติของอินโดนีเซีย

ดอกไม้ประจำชาติของอินโดนีเซีย ชื่อวิทยาศาสตร์: Cestrum nocturnum L. ชื่อวงศ์: Solanaceae ชื่อสามัญ: Lady of the night, Night jessamine, Night blooming jasmine, Queen of the night ชื่อพื้นเมือง: หอมดึก ลักษณะทั่วไป: ต้น ไม้พุ่มขนาดกลาง แตกกิ่งก้านจำนวนมากเป็นพุ่ม กิ่งก้านเป็นเหลี่ยมโค้งลง เปลือกลำต้นสีเทาอ่อนปนขาว ใบ ใบเดี่ยว
เรียงเวียนสลับ ใบรูปรี กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ดอก สีขาวนวล ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะแยกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 8-15 เซนติเมตร มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงสีเขียว รูปถ้วย โคนเกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบๆ ยาว 2-2.5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกย่อยบานไม่พร้อมกัน ดอกบานตอนกลางคืนถึงเช้า ดอกบานเต็มที่กว้าง 0.8-1.3 เซนติเมตร ฝัก/ผล ผลสดแบบมีเนื้อหลายเมล็ด ค่อนข้างกลม สีขาวขุ่น ฉ่ำน้ำ ฤดูกาลออกดอก: ออกดอกตลอดปี การปลูก: ปลูกประดับสวน เป็นไม้กระถาง ปลูกเป็นรั้ว การดูแลรักษา: ชอบดินร่วนที่มีการระบายน้ำดี การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง ส่วนที่มีกลิ่นหอม: ดอกมีกลิ่นหอมแรง การใช้ประโยชน์: - ไม้ประดับ - สมุนไพร ถิ่นกำเนิด: เกาะเวสต์อินดีส สรรพคุณทางยา: - ลำต้น เป็นยาแก้โรคเรื้อน - ราก เป็นยาแก้กามโรค และหนองใน - ผล เป็นยาแก้ไข้ท้องเสีย ประเภทของดอกกล้วยไม้ราตรี ฟาแลนน็อปซิส (Phalaenopsis) เป็นชื่อของกล้วยไม้ราตรี พบได้ทั่วไปในประเทศพม่า ไทย ลาว มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และหมู่เกาะใกล้เคียงในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย จึงกล่าวได้ว่ามีการกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชีย ฟาแลนน็อปซิสเป็นกล้วยไม้ที่เจริญเติบโตขึ้นทางยอด (Monopodial) ต้นสั้น ใบกว้างค่อนข้างรี หนา และอวบน้ำ รากค่อนข้างใหญ่ ช่อดอกยาว ปกติจะมีใบติดอยู่กับลำต้น 5-6 ใบ และถ้าหากต้นสมบูรณ์ก็สามารถมีใบมากกว่านี้ ดอกบานทนนาน 2-3 สัปดาห์ หรืออาจเป็นเดือน ฟาแลนน็อปซิสเป็นกล้วยไม้ที่มีเหมาะกับสถานที่ทำงาน เนื่องจากคุณสมบัติคายออกซิเจนในเวลากลางคืน สามารถดูดสารพิษจำพวกแอลกอฮอล์และสารที่ระเหยจากพริ้นเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร และสีทาอาคารได้ สกุลฟาแลนนอปซิส (Phalaenopsis) กล้วยไม้สกุลฟาแลนนอปซิสในธรรมชาติกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชียตั้งแต่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ไทย ลาว มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และหมู่เกาะใกล้เคียงในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย ฟาแลนนอปซิสเป็นกล้วยไม้ที่เจริญเติบโตขึ้นทางยอด (Monopodial) ต้นสั้น ใบกว้างค่อนข้างรี หนา และอวบน้ำรากค่อนข้างใหญ่ ช่อดอกยาว ปกติจะมีใบติดอยู่กับลำต้น 5-6 ใบ ยิ่งถ้าต้นสมบูรณ์ก็สามารถมีใบมากกว่านี้ ดอกบานทนนาน 2-3 สัปดาห์ หรืออาจเป็นเดือน ในประเทศไทยพบฟาแลนนอปซิสในธรรมชาติ ได้แก่ เขากวางอ่อน (Phalaenopsis cornucervi), ผีเสื้อชมพู (Phalaenopsis lowii), ผีเสื้อน้อย (Phalaenopsis parishii) และตากาฉ่อ Phalaenopsis deliciosa (หรือ Phalaenopsis decuens) กล้วยไม้สกุลฟาแลนนอปซิส สามารถนำไปผสมกับกล้วยไม้สกุลอื่นได้อีก โดยเฉพาะสกุลม้าวิ่ง (Doritis) ลูกผสมจากสองสกุลนี้คือสกุล Doritaenopsis ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่มีดอกและช่อดอกที่สวยงาม มีสีสันลวดลายแปลกตา จึงทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก อีกสกุลหนึ่งที่นำมาผสมกับฟาแลนนอปซิส คือสกุลแวนด้า ลูกผสมที่ได้คือสกุล Vandaenopsis ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่นำลักษณะเด่นของสองสายพันธุ์มารวมกัน ทำให้ได้กล้วยไม้ที่มีลักษณะสวยงามแปลกตาอีกชนิดหนึ่ง การปลูกเลี้ยงฟาแลนนอปซิส ฟาแลนนอปซิสเป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ใบค่อนข้างหนาซึ่งต้องระวังในเรื่องความชื้นที่มีมากไปก็จะทำให้ต้นและใบ เน่าได้ง่าย สามารถปลูกลงกระถางโดยการปลูกจะต้องให้โคนต้นและรากส่วนบน อยู่เหนือเครื่องปลูกขึ้นมา แต่อยู่ต่ำกว่าระดับขอบกระถาง ซึ่งจะดูสวยงามและป้องกันไม่ให้โคนต้นและโคนใบได้รับความชื้นมากเกินไปจนทำให้เน่า ฤดูที่เหมาะสมในการปลูกประมาณเดือนมีนาคม หรือก่อนเข้าฤดูฝน เพราะถ้าปลูกหลังจากที่เข้าฤดูฝนแล้ว อากาศมีความชื้นสูง อาจทำให้กล้วยไม้อวบน้ำมากเกินไปจนเน่าได้ ดังนั้นจึงต้องควบคุมเรื่องน้ำและความชื้นค่อนข้างมาก หรือบางคนอาจปลูกโดยให้ต้นกล้วยไม้เกาะตอไม้หรือกิ่งไม้ก็สามารถทำได้ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดปัญหาน้ำฝนที่ตกลงมาขังในส่วนโคนต้นและใบได้ เพราะไม่มีเครื่องปลูกที่อมความชื้นไว้ น้ำที่ขังอยู่ที่ใบก็จะระเหยออกไปอย่างรวดเร็ว การดูแลรักษากล้วยไม้ การให้น้ำ น้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ต้องเป็นน้ำที่มีคุณภาพดี มีปริมาณเกลือแร่ไม่สูงเกินไป เพราะจะเป็นพิษต่อระบบรากทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ควรรดใน เวลาเช้าหรือบ่าย โดยใช้สายยางต่อกับหัวฉีดแบบฝอยละเอียด ลดการกระแทกที่ทำให้ดอก ใบช้ำ แต่ในช่วงที่ฝนตกหนักควรงดการให้ น้ำ 2-3 วัน รอจนกระทั่งเครื่องปลูกเริ่มแห้งจึงให้น้ำใหม่ ถ้าเป็นฤดูร้อนหรือฤดูหนาวควรรดน้ำให้บ่อยขึ้น น้ำ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายสารอาหารต่างๆ เพื่อให้รากของกล้วยไม้สามารถดูดอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ กล้วยไม้ต้องการน้ำที่สะอาดปราศจากเกลือแร่ที่เป็นพิษ มีความเป็นกรดเป็นด่างหรือค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7 แต่น้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดต่อความต้องการของกล้วยไม้ คือ น้ำสะอาดบริสุทธิ์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ มีค่า pH ประมาณ 6.5 น้ำที่มี pH ต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 7 จึงไม่ควรนำมาใช้รดกล้วยไม้ การทดสอบคุณสมบัติความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำแบบง่ายๆ คือ ทดสอบด้วยกระดาษลิสมัส ในการเลี้ยงกล้วยไม้ถ้าน้ำมี pH ต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 7 หากมีความจำเป็นต้องใช้น้ำนี้รดกล้วยไม้ เนื่องจากไม่สามารถหาน้ำที่มีคุณสมบัติดีกว่า ควรทำให้น้ำมี pH อยู่ระหว่าง 6-7 ก่อน ดังนี้ - น้ำที่มีค่า pH ต่ำกว่า 5.5 คือน้ำมีฤทธิ์เป็นกรดค่อนข้างมาก แก้ไขโดยตักน้ำใส่ภาชนะ เช่น ตุ่มหรือโอ่งไว้แล้วใช้ โซเดียมไฮดร็อกไซด์ ค่อยๆ เทใส่ลงไป แล้วคนให้เข้ากันจนทั่ว ทำการทดสอบระดับ pH จนกระทั่งน้ำมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7 - น้ำที่มีค่า pH สูงกว่า 7 คือน้ำที่มีเกลือแร่ที่เป็นพิษต่อกล้วยไม้ เช่น แคลเซียมไบคาร์บอเนตปนอยู่ในน้ำแสดงว่าน้ำนั้นมีความเป็นด่างมากไม่เหมาะที่จะนำไปรดกล้วยไม้ วิธีแก้หรือทำให้น้ำนั้นมี pH อยู่ที่ 6-7 ก่อน โดยตักน้ำใส่ภาชนะ เช่น ถัง ตุ่มหรือโอ่งไว้ แล้วใช้ กรดไนตริก ค่อยๆ เทใส่ลงไป คนหรือกวนให้เข้ากันจนทั่ว จนกระทั่งน้ำมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7 วิธีการการให้น้ำ วิธีการให้น้ำกล้วยไม้สามารถทำได้หลายวิธี จะเลือกใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ อายุของกล้วยไม้ และความสะดวกของผู้ปลูกเลี้ยงเอง ซึ่งวิธีการให้น้ำมีดังนี้ - จุ่มน้ำ โดยตักน้ำใส่ภาชนะแล้วนำกล้วยไม้มาจุ่มลงในน้ำ การจุ่มน้ำมีข้อดีคือน้ำจะซึมไปทั่วทุกส่วนของเครื่องปลูก เหมาะกับกล้วยไม้ที่ไม่มีรากเกะกะ เช่น สกุลหวาย สกุลแคทลียา มีเครื่องปลูกแน่น เช่น กาบมะพร้าวอัด ออสมันด้าอัด หรือเครื่องปลูกหนัก เช่น อิฐ กรวด ถ้าเครื่องปลูกเบา เช่น ถ่าน ถ่านจะลอย การรดน้ำวิธีนี้เป็นการล้างเครื่องปลูกให้สะอาดอยู่เสมออีกด้วย ข้อเสียคือการจุ่มน้ำบ่อยๆ อาจทำให้ รากอ่อน หน่ออ่อน ไปกระทบกระแทกกับภาชนะที่ใส่น้ำได้ และถ้ากล้วยไม้มีโรคแมลงอาศัยอยู่ น้ำในภาชนะอาจเป็นพาหะให้โรคแมลงระบาดได้ง่าย และการให้น้ำวิธีนี้ไม่เหมาะกับปริมาณกล้วยไม้มากๆ เพราะเป็นวิธีที่ช้ามาก เหมาะกับกล้วยไม้จำนวนน้อย และปลูกเลี้ยงในที่ไม่ต้องการให้พื้นเฉอะแฉะ เช่นระเบียงบ้าน ริมหน้าต่าง เป็นต้น - ไขน้ำให้ท่วม โดยทำโต๊ะปลูกกล้วยไม้ที่ขังน้ำได้ เวลาจะให้น้ำก็ไขน้ำให้ขังเต็มโต๊ะ ทิ้งไว้จนเห็นว่าเครื่องปลูกดูดซับน้ำเพียงพอแล้วจึงไขน้ำออก วิธีนี้ทำได้รวดเร็วกับกล้วยไม้จำนวนมาก ไม่ทำให้กล้วยไม้ไม่บอบช้ำ แต่ป้องกันโรคระบาดจากแมลงได้ยาก - ใช้บัวรดน้ำ วิธีนี้มีข้อดีคือต้นทุนต่ำ ส่วนข้อเสียคือถ้ามีกล้วยไม้จำนวนมากจะต้องใช้เวลาในการรดน้ำมาก หรือถ้าขาดความระมัดระวังฝักบัว ก้านบัว อาจจะกระทบต้น กระทบดอกกล้วยไม้ ทำให้กล้วยไม้บอบช้ำได้ - สายยางติดหัวฉีด การใช้สายยางควรใช้หัวฉีดชนิดฝอยละเอียด การรดน้ำวิธีนี้สะดวก รวดเร็วและทุ่นแรง เหมาะสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เป็นจำนวนมาก - สปริงเกอร์ คือการใช้หัวฉีดติดตั้งอยู่กับที่แล้วพ่นน้ำเป็นฝอยให้กระจายไปทั่วบริเวณที่ต้องการ การรดวิธีนี้สะดวกสบายและรวดเร็วที่สุด ข้อเสียคือต้องลงทุนสูงและใช้ได้กับกล้วยไม้ที่มีความต้องการน้ำเหมือนๆ กัน ไม่เหมาะกับการเลี้ยงกล้วยไม้จำนวนน้อย แต่หลากหลายชนิด เวลาที่เหมาะสมแก่การให้น้ำ การรดน้ำกล้วยไม้ปกติควรรดวันละครั้ง ยกเว้นวันที่ฝนตกหรือกระถางและเครื่องปลูกยังมีความชุ่มชื้นอยู่ การรดน้ำกล้วยไม้ควรรดในเวลาที่แดดไม่ร้อนจัด เวลาที่เหมาะสมคือตอนเช้าเวลาประมาณ 6.00-9.00 น. เพราะนอกจากจะไม่ร้อนแล้วจะมีช่วงเวลาที่มีแสงแดดยาวนาน กล้วยไม้มีความจำเป็นต้องใช้แสงแดดไปช่วยในการปรุงอาหารเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ฉะนั้นช่วงเวลากลางวันจึงเป็นเวลาที่กล้วยไม้ต้องใช้รากดูดความชื้นและนำอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ มากที่สุด การรดน้ำในเวลาเช้าจึงได้รับประโยชน์มากที่สุด ในการรดน้ำกล้วยไม้ควรรดให้เปียก เพื่อเป็นการชะล้างเศษปุ๋ยที่เหลือตกค้างซึ่งอาจเป็นพิษแก่กล้วยไม้ให้ไหลหลุดไป ไม่ควรรดน้ำแรงๆ หรือรดน้ำอยู่กับที่นานๆ ควรรดแบบผ่านไปมาหลายๆ ครั้งจนเปียกโชก ทั้งนี้เพื่อให้กระถางและเครื่องปลูกมีโอกาสดูดซึมอุ้มน้ำไว้เต็มที่ การรดน้ำกล้วยไม้ควรรดให้ถูกเฉพาะรากกระถางและเครื่องปลูกเท่านั้น ไม่ควรรดน้ำให้ถูกเรือนยอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม้ที่มีเรือนยอดใหญ่ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้าและสกุลช้าง เพราะน้ำอาจตกค้างอยู่ที่เรือนยอดซึ่งอาจทำให้เกิดโรคยอดเน่าได้ การให้ปุ๋ย ให้ปุ๋ยทุก ๆ 7 วัน โดยใช้ปุ๋ยละลายน้ำ สูตรสูง เช่น สูตร 20-20-20 ในระยะเริ่มปลูกควรให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อช่วยการเจริญเติบโตทางลำต้น และใบเมื่อต้นกล้วยไม้เจริญถึงระยะให้ดอกหรือต้องการเร่งให้ออกดอก ควรใช้ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูงไม่ควรฉีดพ่น ปุ๋ยในช่วงที่มีแดดจัด เพราะจะทำให้น้ำที่ละลายปุ๋ยระเหยไปอย่างรวดเร็วทำให้กล้วยไม้ไม่สามารถดูดปุ๋ยไปใช้ได้ และยังทำให้ความเข้มข้นของปุ๋ยสูงขึ้น อาจทำให้ใบไหม้หลังจากให้ปุ๋ยแล้ว ในวันรุ่งขึ้นต้องรดน้ำให้มากกว่าปกติ เพื่อชะล้างเกลือแร่ของปุ๋ยที่ตกค้างอยู่บนเครื่องปลูกและรากออก นอกจากการให้ปุ๋ยแล้ว ผู้ปลูกเลี้ยงต้องฉีดพ่นยาฆ่าแมลงและยาป้องกันโรคอย่างสม่ำเสมออาจให้พร้อม ๆ กับการรดน้ำหรือให้ปุ๋ย หากมีการระบาดของโรค และแมลงก็ต้องเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับโรคและแมลงชนิดนั้น ๆ ปุ๋ย ที่นำมาให้กับกล้วยไม้ โดยทั่วไปนิยมใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ในการปลูกกล้วยไม้ เพราะนอกจากจะละลายน้ำได้ดี สะดวกในการใช้ ยังมีธาตุอาหารครบถ้วนตามความต้องการของกล้วยไม้ด้วย ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ที่ใช้กับกล้วยไม้มี 3 ลักษณะ คือ ลักษณะเป็นน้ำ เป็นเกล็ดละลายน้ำ และเป็นเม็ดละลายช้า - ปุ๋ยน้ำ เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารละลายอยู่ในรูปของของเหลว เมื่อต้องการใช้ต้องนำมาผสมกับน้ำตามส่วนที่ระบุบนฉลาก ข้อดีของปุ๋ยน้ำคือละลายง่าย กล้วยไม้สามารถดูดไปใช้ได้เลย ไม่ตกค้างอยู่ในเครื่องปลูก ซึ่งถ้ามีปุ๋ยตกค้างอยู่ในเครื่องปลูกมากอาจเป็นอันตรายต่อกล้วยไม้ได้ - ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำ เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารต่างๆ ที่จำเป็นผสมอยู่ตามสัดส่วน เมื่อจะใช้ต้องนำไปผสมกับน้ำตามสัดส่วนที่ระบุไว้ข้างภาชนะบรรจุปุ๋ย ปุ๋ยผงบางชนิดละลายน้ำได้ดี แต่บางชนิดละลายไม่หมด ปุ๋ยผงจึงไม่เหมาะสำหรับรดกล้วยไม้มากเท่ากับปุ๋ยน้ำ - ปุ๋ยเม็ดละลายช้า เป็นปุ๋ยชนิดเม็ดเคลือบที่ภายในบรรจุปุ๋ยไว้เพื่อให้ปุ๋ยค่อยๆ ละลายออกมาอย่างช้าๆ ปุ๋ยชนิดนี้จึงใส่เพียงครั้งเดียวจึงสามารถอยู่ได้นานหลายเดือน จึงทำให้ง่ายในการใช้ ประหยัดแรงงานไม่ต้องใส่บ่อยๆ แต่ปุ๋ยชนิดนี้มีราคาสูง และเหมาะกับกล้วยไม้ที่มีเครื่องปลูกอย่างกล้วยไม้ที่มีระบบรากดินและรากกึ่งอากาศ เช่น แวนด้า หวาย แคทลียา วิธีการให้ปุ๋ย ระยะแรกของการปลูกกล้วยไม้ควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตของลำต้นและใบ เมื่อต้นกล้วยไม้เจริญถึงระยะให้ดอกหรือต้องการเร่งให้ออกดอก ควรใช้ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูงเพื่อกระตุ้นให้กล้วยไม้ออกดอก ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ในช่วงฤดูร้อนควรให้ปุ๋ยมากกว่าฤดูหนาวกับฤดูฝน ลูกกล้วยไม้ควรให้ปุ๋ยในอัตราที่อ่อนกว่ากล้วยไม้ใหญ่ ถ้าเป็นต้นที่โตเร็วและได้รับแสงแดดมากต้องให้ปุ๋ยมากกว่าพวกที่โตช้าและเลี้ยงในร่ม การให้ปุ๋ยควรให้สัปดาห์ละครั้ง การรดปุ๋ยกล้วยไม้ควรรดให้ถูกส่วนรากเพราะเป็นส่วนที่ดูดธาตุอาหารและน้ำได้ดีกว่าใบ และไม่ทำให้กล้วยไม้บอบช้ำ วิธีการให้ปุ๋ยกล้วยไม้สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้ - รดด้วยบัวรดน้ำชนิดฝอย การให้ปุ๋ยวิธีนี้ถ้ารดกล้วยไม้ที่แขวนราวหลายๆ ราว กล้วยไม้ที่อยู่ราวในๆ จะได้รับปุ๋ยไม่ทั่วถึง วิธีแก้ไขโดยแขวนกล้วยไม้เป็นแถวตามแนวตั้ง ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การรดน้ำหรือรดปุ๋ยด้วยฝักบัวและสะดวกแก่การบำรุงรักษาได้ทั่วถึงด้วย ถ้าใช้วิธีตั้งกล้วยไม้ไว้บนชั้นแล้วการรดน้ำหรือรดปุ๋ยด้วยวิธีนี้จะสะดวกขึ้น - พ่นด้วยเครื่องฉีดชนิดฝอย เป็นวิธีที่เหมาะกับทุกลักษณะของกล้วยไม้ ไม่ว่าจะตั้งหรือแขวนกล้วยไม้ก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ แต่ควรเป็นเครื่องฉีดชนิดสูบหรืออัดลม ข้อดีคือทำให้กล้วยไม้ได้รับปุ๋ยทั่วถึงโดยไม่เป็นอันตรายหรือบอบช้ำจากการกระทบกระเทือนหรือกระแสน้ำแรงเกินไป - วิธีจุ่ม คือการให้ปุ๋ยโดยจุ่มกระถางกล้วยไม้ลงในน้ำปุ๋ยที่ผสมไว้ ข้อดีของวิธีนี้คือไม่เปลืองน้ำปุ๋ยเพราะน้ำปุ๋ยไม่รั่วไหลไปไหนนอกจากติดไปกับกระถางกล้วยไม้ ความชุ่มของน้ำปุ๋ยในกระถางทั่วถึงดี ข้อเสียคือกล้วยไม้บางกระถางอาจมีโรคและแมลงอาศัยอยู่ เมื่อจุ่มลงในน้ำปุ๋ยโรคและแมลงจะปนออกมากับน้ำปุ๋ย เมื่อนำกระถางกล้วยไม้อื่นมาจุ่มจะทำให้ติดเชื้อโรคและแมลงนั้นได้ ฉะนั้นวิธีนี้จึงอาจเป็นสื่อติดต่อของโรคและแมลงได้ง่าย และถ้าหากไม่ใช้ความระมัดระวังแล้วหน่อที่แตกใหม่อาจจะกระทบกับความแข็งของภาชนะที่ใส่ปุ๋ยทำให้บอบช้ำและเน่าได้ - ปล่อยน้ำปุ๋ยเข้าท่วมกระถางแล้วระบายออก วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้สำหรับการปลูกกล้วยไม้หรือต้นไม้กระถางในเรือนกระจกใหญ่ๆ โดยตั้งกระถางบนโต๊ะที่ทำเป็นอ่างเก็บน้ำได้ เมื่อต้องการให้ปุ๋ยก็ปล่อยน้ำปุ๋ยที่ผสมตามสัดส่วนให้เข้าไปท่วมกระถางกล้วยไม้ตามระยะกำหนดเวลาที่ต้องการ เมื่อเสร็จแล้วก็ระบายน้ำปุ๋ยออก วิธีนี้ถ้านำไปใช้กับบริเวณเนื้อที่ที่มีต้นไม้มากๆ และเป็นบริเวณที่ควบคุมสภาพของธรรมชาติแวดล้อมได้จะได้ผลดี - ใช้เครื่องผสมปุ๋ยกับน้ำ เป็นเครื่องผสมปุ๋ยแบบอัตโนมัติที่ใช้ในการผสมปุ๋ยกับน้ำตามอัตราส่วนที่ต้องการ โดยต่อเครื่องเข้ากับท่อน้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ ภายในเครื่องมีปุ๋ยละลายน้ำเข้มข้นอยู่ เมื่อรดน้ำ ปุ๋ยก็จะผสมไปกับน้ำแล้วพ่นออกไปสู่กล้วยไม้ผ่านไปทางหัวฉีดทันที เครื่องผสมปุ๋ยนี้สามารถจะปรับหรือตั้งเพื่อให้ปุ๋ยผสมไปกับน้ำตามอัตราความเข้มที่ต้องการได้ จึงเหมาะสำหรับสวนกล้วยไม้ที่มีจำนวนกล้วยไม้มากๆ สำหรับการให้ปุ๋ยชนิดเม็ดละลายช้าทำโดยโรยเม็ดปุ๋ยบริเวณเครื่องปลูกที่ใกล้กับรากของกล้วยไม้ตามสัดส่วนที่ระบุไว้ข้างภาชนะที่บรรจุปุ๋ย เวลาที่เหมาะแก่การให้ปุ๋ย เนื่องจากสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับการให้ปุ๋ยอยู่มาก เช่น ปุ๋ยจะเป็นประโยชน์แก่กล้วยไม้ได้ต้องมีแสงสว่าง มีความอบอุ่น อุณหภูมิพอเหมาะและมีความชุ่มชื้นพอดี เป็นต้น แสงสว่างหรือแสงแดดที่เป็นประโยชน์แก่กล้วยไม้คือแสงแดดในตอนเช้า ตั้งแต่เช้าจนถึง เวลาประมาณ 11.00 น. หลังจากนี้แสงแดดจะแรงและมีความร้อนสูงเกินไป การรดปุ๋ยในเวลาเช้า แสงแดดจะช่วยให้กล้วยไม้ได้ใช้ปุ๋ยได้เต็มที่ เพราะแสงแดดช่วยผลิตกำลังงานที่จะใช้ดูดปุ๋ยขึ้นมาใช้ประโยชน์ในการสร้างความเจริญเติบโตของกล้วยไม้ การรดปุ๋ยควรรดสม่ำเสมออาทิตย์ละครั้ง เพื่อกล้วยไม้จะได้รับปุ๋ยหรืออาหารอย่างสม่ำเสมอ ถ้าหากวันที่ครบกำหนดให้ปุ๋ยอากาศครื้มฝนไม่ควรรดปุ๋ย เนื่องจากไม่มีแสงแดดช่วยกล้วยไม้ก็ไม่สามารถดูดซึมปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ และถ้าหากฝนตกปุ๋ยก็จะถูกชะล้างไปกับฝนโดยที่กล้วยไม้ไม่ได้รับประโยชน์จากปุ๋ยนั้นเลย จึงควรงดการให้ปุ๋ยในวันดังกล่าว และอาจเลื่อนการให้ปุ๋ยไปในวันถัดไป หรืออาจงดให้ปุ๋ยในอาทิตย์นั้นแล้วไปรดในอาทิตย์ถัดไปก็ได้ การเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดี ผู้ปลูกต้องกำหนดวันตัดดอกให้แน่นอน แล้วจัดตารางใส่ปุ๋ย -ยาฆ่าแมลงให้เหมาะสม หากให้ปุ๋ยก่อนตัดดอก 1-2 วัน จะทำให้คุณภาพดอกและอายุการปักแจกันลดลง ช่วงเวลาตัดดอกควรตัดในช่วงเข้ามืดโดยใช้มือหักกดลงที่โคนก้านช่อหรือตัดด้วยกรรไกร โดยต้องทำ ความสะอาดกรรไกรทุกครั้ง เพื่อป้องกันการระบาดของโรคโดยเฉพาะจากเชื้อไวรัส ลักษณะของช่อดอกที่สามารถตัดได้ในกล้วยไม้สกุลหวาย ดอกต้องบาน 3/4 ของช่อดอก, ออนซิเดียมตัดในระยะเหลือดอกตูมที่ปลายช่อ 1-2 ดอก แวนด้า และแอสโคเซนด้า ตัดดอกเมื่อดอกบานหมดช่อ ส่วนอะแรนด้า, ม๊อคคาร่า ตัดดอกเมื่อดอกบานเกือบหมดช่อหรือหมดช่อ

ดอกไม้ประจำชาติของกัมพูชา

ดอกไม้ประจำชาติของกัมพูชา กัมพูชามีดอกไม้ประจำชาติเป็น ดอกลำดวน (Rumdul) ดอกไม้สีขาวปนเหลืองนวล กลีบดอกหนาทึบและแข็งเล็กน้อย มีกลิ่นหอมเย็นแบบกรุ่น ๆ ถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความหมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น และเป็นดอกไม้สำหรับสุภาพสตรี วิธีปลูกที่ถูกต้อง ต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนื
อของตัวบ้าน ที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธ ด้วยนะ ลำดวน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Melodorum fruticosum Lour.) มีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า หอมนวล (ภาคเหนือ) เป็นไม้ดอกชนิดหนึ่งมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเป็นมงคลประจำจังหวัดศรีสะเกษ นอกจากนี้ ดอกหอมนวลยังเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ [1] และ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ด้วย [2] เนื้อหา [ซ่อน] 1 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 2 สัญลักษณ์ประจำจังหวัด 3 สัญลักษณ์ประจำสถานศึกษา 4 อ้างอิง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้] ดอกหอมนวลเป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 5 - 20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปกรวย หนาทึบ ลำต้นเปลาตรง มีเปลือกสีน้ำตาล แตกขรุขระเป็นสะเก็ด ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 5-11.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโคนใบสอบหรือมน ดอกมีสีนวลกลิ่นหอม ออกเดี่ยวตามซอกใบที่ปลายกิ่ง กลีบดอกหนาและแข็ง กลีบดอก ชั้นนอก 3 กลีบแผ่ออก ชั้นใน 3 กลีบ หุบเข้าหากัน เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ลักษณะผล เป็นผลกลุ่ม ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.6 เซนติเมตร สีเขียว เมื่อสุกสีดำ รสหวานอมเปรี้ยว

10ดอกไม้ประจำชาติอาเซียนประเทศบรูไน

10ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน National Flowers of 10 ASEAN Countries ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน บุปผาอันงดงามแห่งอาเซียนทั้ง 10ประเทศที่ผลิดอก ออกใบ แตกกอ ต่อยอดวันแล้ววันเล่า นอกจากบ่งบอกเอกลักษณ์ความเป็นชาติแล้ว ยังอ้างอิงถึงภูมิศาสตร์ที่ตั้งถิ่นฐานของประเทศนั้นๆ อีกด้วย Simpor is the national flower of Brunei. ดอก Si
mpor (Dillenia suffruticosa) เป็นดอกไม้ที่มีกลีบดอกขนาดใหญ่สีเหลือง เมื่อบานเต็มที่กลีบดอกจะบานออกคล้ายกับร่ม รูปดอก Simpor พบได้ในธนบัตรราคา 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน ดารุสซาลาม และถูกใช้อย่างแพร่หลายในด้านศิลปะการออกแบบงานฝีมือพื้นเมือง ดอก Simpor พบทั่วไปตามแม่น้ำของประเทศบรูไน ดารุสซาลาม โดยเฉพาะแม่น้ำ Tem-burong และยังพบตามบึง หรือบริเวณที่มีทรายสีขาว ส่วนต่างๆ ของต้นไม้ชนิดนี้นำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ใช้ในการรักษาบาดแผล

เยอบีร่า

เยอบีร่า ชื่อสามัญ : Gerbera , Barberton daisy ชื่อวิทยาศาสตร์: Gerbera jamesonii วงศ์: Compositae ถิ่นกำเนิด: South Africa แหล่งผลิตเยอบีร่า ภาคเหนือ : เชียงราย พิษณุโลก เชียงใหม่ พิจิตร ภาคใต้ : ภูเก็ต นครศรีธรรมราช ภาคกลาง : สมุทรสาคร นนทบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ขอนแก่น อุบลร
าชธานี ลักษณะของเยอบีร่า เยอบีร่าเป็นไม้ดอกที่มีลักษณะต้นเป็นกอเตี้ย ๆ มีลำต้นอยู่ใต้ดิน เป็นไม้พรรณพุ่ม ใบและก้านจะงอกจากตาที่ติดอยู่กับลำต้นใต้ดิน ขอบใบหยักเป็นแฉกแต่จะหยักลึกไม่เท่ากัน แผ่นใบนั้นไม่คลี่กางเต็มที่ ขอบใบทั้งสองข้างจะหุบเข้าหาเส้นกลางใบเล็กน้อย ก้านใบและใบมีขนละเอียด ขึ้นอยู่ทั่วไป ดอกเยอบีร่ามีลักษณะเป็นดอกรวมประกอบด้วยดอกย่อยเล็ก ๆ เป็นจำนวนมากอัดกันแน่นอยู่บนฐานรองดอก ดอกย่อยนี้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ - ดอกชั้นใน เรียกว่า ดิส ฟลอเร็ต (Disc florets) เรียงอยู่ชั้นในรอบใจกลางดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย เกสรตัวเมียของดอกชั้นในส่วนใหญ่จะเป็นหมัน - ดอกชั้นนอก เรียกว่า เร ฟลอเร็ต (Ray florets) เป็นดอกตัวเมีย ไม่มีเกสรตัวผู้ พันธุ์เยอบีร่า 1.สายพันธุ์ไทย เป็นพันธุ์ที่พัฒนามาจากพันธุ์ดั้งเดิมที่นำเข้ามาปลูก มีลักษณะกลีบดอกแคบยาวซ้อนลดหลั่นลงมา มีสีสันไม่ค่อยสดใสนัก บางพันธุ์อาจมีกลีบดอกเป็นฝอย เรียกว่าหน้ายุ่ง ก้านดอกเล็กและสั้น ใบมีขนาดเล็ก ปรับตัวเขากับสภาพอากาศของภาคกลางได้ดีแต่มีอายุการปักแจกันสั้น เช่น - กลุ่มดอกสีขาว : พันธุ์ขาวจักรยาว, ขาวจักรสั้น - กลุ่มดอกสีเหลือง : พันธุ์เหลืองถ่อ, เหลืองพังสี - กลุ่มดอกสีชมพู : พันธุ์บัวหลวง,มณฑา - กลุ่มดอกสีแสด : พันธุ์สุรเสน,จำปา - กลุ่มดอกสีแดง : พันธุ์แดงลักแทง,แดงตาเปิ่น 2. สายพันธุ์ยุโรป มีดอกชั้นเดียว ซ้อนหรือกึ่งซ้อน กลีบดอกกว้างกว่าสายพันธุ์ไทย 2-3 เท่า กลีบดอกหนา ก้านดอกใหญ่ยาวและแข็งแรง มีอายุการปักแจกันนาน ใบมีขนาดใหญ่กว่าสายพันธุ์ไทย ใจกลางดอกใหญ่ส่วนมากจะเป็นสีเหลือง หากเป็นสีดำหรือน้ำตาลเข้มเรียกว่า ไส้ดำ เยอบีร่าสายพันธุ์ยุโรปอาจแบ่งย่อยตามการซื้อขายในตลาดโลก ได้ดังนี้ - ดอกชั้นเดียว มีกลีบดอกกว้างป้อมชั้นเดียวและหนาเยอบีร่าประเภทนี้ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน เช่น พันธุ์เออบานัสเทอร่าเฟม(ดอกสีเหลือง) , แปซิฟิก(ดอกสีชมพู), เซมิน่า(ดอกสีแดง) - ดอกซ้อนและกึ่งซ้อน มีกลีบดอกหลายชั้น เช่น พันธุ์วิเซิด ( ดอกสีชมพู แดง/ขาว) , ฟิกาโร (ดอกสีชมพู) , เทอร่าสปิริท (ดอกสีแสดแดง) , อิมพาล่า ( ดอกสีขาว) - ไส้ดำ เช่น พันธุ์เออบานัส (ดอกสีทองแดง) , แพนเทอร์(ดอกสีแดง) ,ริจิลิโอ (ดอกสีแดง), เล็บเพิด (ดอกสีเหลือง), ฟลามิงโก้ (ดอกสีชมพู) 3. สายพันธุ์อเมริกาและสายพันธุ์ออสเตรเลีย ลักษณะของกลีบดอกแคบยาวใจกลางดอกมีขนาดเล็กก้านดอกเล็กยาวคุณภาพและอายุการปักแจกันสู้พันธุ์ยุโรปไม่ได้ การขยายพันธุ์เยอบีร่า - การเพาะเมล็ด เมล็ดของเยอบีร่าจะมีลักษณะโค้งงอคล้ายรูปเคียว ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร วัสดุเพาะจะใช้ส่วนผสมของขุยมะพร้าวกับทรายหยาบ ในอัตราส่วน 1:1 ใส่ในกระบะพลาสติกซึ่งรองด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์เกลี่ยหน้าดินให้เรียบเสมอกัน ใช้ไม้ทำร่องตามขวางของกระบะ ห่างกันประมาณ 1 นิ้ว นำเมล็ดวางเรียงในร่องกลบด้วยวัสดุเพาะแล้วรดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ 3-5 วันเมล็ดจะงอก เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 2-3 ใบ จึงทำการย้ายลงถุงชำโดยใช้ดินผสมที่มีดินร่วน ปุ๋ยคอก แกลบและขี้เถ้าแกลบ ในอัตรา 1 :1 : 1 : 1 เป็นวัสดุปลูก นำไปวางไว้ในที่ร่มแดดรำไร เมื่อต้นกล้ามีอายุ 2.5-3 เดือน จึงย้ายลงแปลงปลูก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 4- 4.5 เดือน จึงเริ่มให้ดอก การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดจะไม่ใช้ในระบบการผลิตเพื่อตัดดอกขาย แต่จะใช้เพื่อปรับปรุงพันธุ์เท่านั้น - การแยกหน่อ เป็นวิธีที่ใช้กันมากเพราะทำได้ง่ายและสะดวกการแยกหน่อเยอบีร่าควรทำเมื่อต้นเยอบีร่ามีอายุมากกว่า 7 เดือนโดยการขุดต้นเยอบีร่าขึ้นมาทั้งกอล้างดินออกให้หมดจึงแยกหน่อแต่ละหน่อควรมีควรมียอดอยู่อย่างน้อย 1 ยอด มีใบ 4-5 ใบ และมีรากติดอย่างน้อย 3 รากตัดรากและใบออกประมาณครึ่งหนึ่งเพื่อลดการคายน้ำจากนั้นนำหน่อที่แยกไปชำในกะบะที่มีวัสดุเพาะชำ เช่น ทรายและขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1:1 ควรระวัง ไม่ให้ดินกลบยอดเพราะจะทำให้เน่าได้ง่าย หลังจากนั้นนำไปวางไว้ในที่ร่มประมาณ 2 สัปดาห์ เมื่อต้นมีอายุ 4-5 สัปดาห์ จึงย้ายลงแปลงต่อไป - การชำยอด การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้จะได้จำนวนต้นมากกว่าการแยกหน่อ แต่ต้นชำอาจเน่าได้ง่ายหากไม่ชำนาญพอการชำยอด ทำได้โดยการขุดต้นเยอบีร่าขึ้นมาทั้งกอ ล้างน้ำให้สะอาดตัดใบออกให้เหลือก้านใบประมาณ 5 เซนติเมตร ตัดยอดออกเพื่อกระตุ้นให้เกิดตาข้างแล้วนำไปชำในกะบะทราย เมื่อมียอดอ่อนแตกจากลำต้น จึงตัดและจุ่มฮอร์โมนเร่งราก แล้วนำไปชำจนออกรากก่อนย้ายปลูกลงถุงต่อไป - วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ วิธีนี้สามารถผลิตต้นพันธุ์ได้จำนวนมากในระยะเวลาอันสั้นได้ต้นที่แข็งแรงปลอดโรคและตรงตามพันธุ์หลังจากนำต้นลงปลูกแล้วประมาณ 6 เดือน จึงจะให้ดอก ปัจจุบันการขยายพันธุ์เยอบีร่าเพื่อการค้านิยมวิธีการแยกหน่อและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การปฏิบัติดูแลรักษาเยอบีร่า - ในสภาพท้องที่ ที่มีแสงแดดจัดมาก ควรปลูกเยอบีร่าในโรงเรือนที่มีความสูงอย่างน้อย 2.5 เมตร หลังคาใช้ซาแรนพลางแสงร้อยละ 50 เพื่อให้ก้านดอกยาว และดอกมีสีสันดีขึ้น นอกจากนี้ในฤดูฝนควรคลุมหลังคาโรงเรือนด้วยพลาสติกใสกันฝน เพื่อให้ดอกมีคุณภาพดีขึ้น และป้องกันการเกิดโรค - ควรดูแลแปลงปลูกให้มีความชื้นตลอดเวลา - พรวนดินหลังจากต้นเยอบีร่าตั้งตัวดีแล้ว เพื่อช่วยให้ดินโปร่ง และเป็นการกำจัดวัชพืชไปในตัว และควรระวังรากเยอบีร่าจะขาด เพราะในช่วงนี้เยอบีร่ากำลังแตกรากใหม่ - ควรจัดหาวัสดุคลุม แปลง เช่นฟางข้าว เปลือกถั่ว แกลบผุ หรืออื่น ๆ เพื่อให้ดินสามารถเก็บความชื้นได้นาน และยังป้องกันหน้าดินแน่น และดินกระเด็นมาถูกใบขณะรดน้ำด้วย - การแต่งพุ่ม หลังจากปลูกเยอบีร่าแล้วต้นจะเจริญเติบโตแตกกอพร้อมทั้งให้ดอก การดูแลนอกจากจะต้องตัดใบแก่ที่เหี่ยวแห้งหรือเป็นโรคออกทิ้งแล้วหากพุ่มแน่นเกินไป จะต้องตัดแต่งใบออกไม่ให้บังกันโดยให้มีใบเหลืออยู่ติดกับต้นประมาณ 20-25 ใบ - เยอบีร่าต้องการน้ำมากแต่ไม่ชอบน้ำ ระยะ 2-3 สัปดาห์แรกควรให้น้ำแบบสปริงเกอร์ ต่อมาควรให้น้ำแบบหยดเพราะจะทำให้ได้น้ำสม่ำเสมอและน้ำไม่เปียกใบและดอก การให้น้ำไม่สม่ำเสมอจะทำให้ก้านดอกเปราะ แตก และหักได้ง่าย - ปุ๋ยที่ให้เยอบีร่า แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกตั้งแต่ระยะต้นเริ่มแตกใบใหม่จนถึงระยะต้นมีดอกแรกใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 21-21-21 อัตรา 3 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร ให้ร่วมกับธาตุรองทุก 7 วัน ส่วนช่วงที่สอง หลังจากที่เยอบีร่าออกดอกแล้ว ใช้ปุ๋ยสูตร 10-52-17 อัตรา 3 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร รดสลับกับปุ๋ยยูเรีย ทุก 15 วัน การเก็บเกี่ยวเยอบีร่า ควรเก็บดอกในระยะที่เกสรตัวผู้บาน 1-2 วง โดยจับก้านดอกโยกเข้าหาตัวแล้วกระตุกขึ้น เนื่องจากตรงโคนก้านดอกจะเป็นเนื้อเยื่อที่แข็งสามารถป้องกันการสูญเสียน้ำของดอกได้ เมื่อดึงดอกออกมาแล้วให้รีบนำไปแช่น้ำ เวลาเก็บเกี่ยวเยอบีร่าทำได้ทั้งในช่วงเช้าและบ่าย การใช้สารเคมีหลังการเก็บเกี่ยวเยอบีร่า หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วจะแช่ดอกเยอบีร่าในสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรด์ 5% หรือสารฟอกผ้าขาว อัตรา 7 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร โดยน้ำที่ใช้ต้องเป็นน้ำที่สะอาด ก่อนนำก้านลงแช่ให้ตัดปลายก้านออก 2เซนติเมตร เพราะส่วนปลายก้านที่ติดอยู่กับต้นเป็นเนื้อเยื่อที่แข็งสามารถดูดน้ำได้น้อย และแช่จนกว่าจะนำไปบรรจุหีบห่อต่อ สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตเยอบีร่า - พื้นที่ปลูก สามารถปลูกได้ในดินที่ร่วนซุย อากาศถ่ายเทได้ดี และมีความชื้นในดินสม่ำเสมอ การระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุสูง ดินควรมีค่า pH 5.5 – 6.5 - อุณหภูมิ กลางวัน 21 – 25 0C กลางคืน 15 – 17 0C - แสง ปลูกใต้ซาแลนที่พรางแสงได้ 50 % - ความชื้น ความชื้นสัมพัทธ์ 80%

ดอกดาวกระจาย

ดอกดาวกระจาย ชื่อวิทยาศาสตร์ Comos spp. ตระกูล Compositae ชื่อสามัญ Cosmos ถิ่นกำเนิด อเมริกากลาง ลักษณะทั่วไป ดาวกระจาย มีพุ่มต้นสูง 3-4 ฟุต เป็นไม้ดอกที่พบปลูกตามรั้วบ้าน และขึ้นเองทั่วไปตามริมทางเมล็ดงอกง่ายเจริญเติบโตเร็วเมื่อต้นโตเต็มที่จะ ออกดอกสะพรั่งทยอยบานนาน 4- 6 สัปดาห์จากนั้นดอกจะโรยพร้อมกับติดเมล็ดเพราะดอกเป็นช่อกระจุก
ตามซอกใบและ ปลายกิ่งดอกวงนอกเป็นหมันกลีบดอกมีสีต่างๆมีตั้งแต่สีชมพู ชมพูอมม่วง แดง ขาว กลีบดอกบาง มี 8 กลีบสีเหลืองถึงสมมีหลายพันธุ์เช่นพันธุ์ดอกซ้อนมีพุ่มเตี้ย ส่วนดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศกลีบดอกเป็นหลอดสีเหลืองปลายจักส่วนมากเป็นดอก ชั้นเดียว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก ประมาณ 3 นิ้ว 35.ดอกกุหลาบเมาะลำเลิง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pereskia bleo (Kunth) DC. วงศ์ : Cactaceae ชื่อสามัญ : Wax Rose ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 5 เมตร ลำต้น โคนต้นมีเนื้อไม้ กิ่งก้านอวบน้ำ และมีหนามยาวสีน้ำตาลแดง แข็ง ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปรี รูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเป็นคลื่น ก้านใบยาว ดอก มีสีแดงอมส้ม ออกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม 2-3 ดอก เป็นช่อสั้นที่ปลายกิ่ง ดอกทยอยบาน ปลายก้านเชื่อมติดกันติดกับฐานรองดอกมีใบประดับเล็กๆ 2-5 กลีบ รูปร่างไม่แน่นอน มีทั้งสามเหลี่ยมไปจนถึงปลายเรียวแหลม กลีบเลี้ยง 2-3 กลีบ รูปไข่ กลีบดอกรูปไข่กลับ 10-15 กลีบ เรียงซ้อนกันหลายชั้น ปลายกลีบเว้าตื้นหรือมีติ่งแหลม กลีบชั้นนอกใหญ่กว่าชั้นใน เกสรเพศผู้จำนวนมาก ออกดอกตลอดปี ผล รูปกรวยแหลม ด้านบนแบน เมื่อสุกสีเหลือง เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก นิเวศวิทยา : มีถิ่นกำเนิดในโคลัมเบีย เขตร้อนของอเมริกา ปานามา ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน ขยายพันธุ์ : ด้วยการปักชำกิ่ง หรือตอนกิ่ง

ดอกอินทนิล

ดอกอินทนิล ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia speciosa (L.) Pers. ชื่อวงศ์ : LYTHRACEAE ชื่อสามัญ : Queen's crape myrtle , Pride of India ชื่ออื่นๆ ฉ่วงมู ฉ่องพนา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ) บางอบะซา (มลายู-ยะลา, นราธิวาส) บาเย บาเอ (มลายู-ปัตตานี) อินทนิล (ภาคกลาง, ใต้) ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ แต่ผลิใบใหม่ไว สูง 5-20 เมตร ลำต้น ต้นเล็กมักคดงอ แต่พอใหญ่ขึ้นจะเปลา ตรง โคนต้นไม้ไม่ค่อยพบพูพอน มักจะมีกิ่งใหญ่แตกจากลำต้นสูงเหนือพื้นดินขึ้นมาไม่มากนัก ดังนั้น เรือนยอดจึงแผ่กว้าง พุ่มแบบรูปร่มและคลุมส่วนโคนต้นเล็กน้อยเท่านั้น ต้นอินทนิลน้ำที่พบตามธรรมชาติในป่าทั่วๆ ไป จะมีเรือนยอดคลุมลำต้นประมาณเก้าในสิบส่วนของความสูงทั้งหมด ผิวเปลือกนอกสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน และมักจะมีรอยด่างเป็นดวงสีขาวๆ ทั่วไป ผิวของเปลือกค่อนข้างเรียบ ไม่แตกเป็นร่องหรือเป็นรอยแผลเป็น เปลือกหนาประมาณ 1 ซม. เปลือกในออกสีม่วง ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ทรงใบรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5-10 ซม. ยาว 11-26 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา เกลี้ยง เป็นมันทั้งสองด้าน โคนใบมนหรือเบี้ยวเยื้องกันเล็กน้อย ปลายใบเรียวและเป็นติ่งแหลม เส้นแขนงใบ มี 9-17 คู่ เส้นโค้งอ่อนและจะจรดกับเส้นถัดไปบริเวณใกล้ๆ ขอบใบเส้นใบย่อยเห็นไม่เด่นชัดนัก ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. เกลี้ยง ไม่มีขน ดอก โต มีสีต่างๆ กัน เช่น สีม่วงสด ม่วงอมชมพู หรือม่วงล้วนๆ ออกรวมกันเป็นช่อโต ยาวถึง 30 ซม. ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบตอนใกล้ๆ ปลายกิ่ง ตรงส่วนบนสุดของดอกตูมจะมีตุ่มกลมเล็กๆ ตั้งอยู่ตรงกลาง ผิวนอกของกลีบฐานดอกซึ่งติดกันเป็นรูปถ้วยหรือรูปกรวยหงายจะมีสันนูนตามยาวปรากฎชัด และมีขนสั้นปกคลุมประปราย กลีบดอกบาง รูปช้อนที่มีโคนกลีบเป็นก้านเรียว ผิวกลีบเป็นคลื่นๆ บ้างเล็กน้อย เมื่อบานเต็มที่จะมีรัศมีกว้างถึง 5 ซม. รังไข่ กลม เกลี้ยง ผล รูปไข่เกลี้ยงๆ ยาว 2-2.5 ซม. เมื่อแก่จะแยกออกเป็น 6 เสี่ยง เผยให้เห็นเมล็ดเล็กๆ ที่มีปีกเป็นครีบบางๆ ทางด้านบน สรรพคุณ : ใบ - รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ขับปัสสาวะ ก่อนใช้ใบอินทนิลน้ำรักษาโรคเบาหวาน คนไข้ควรให้แพทย์ตรวจน้ำตาลในเลือดหรือในปัสสาวะดูเสียก่อนว่า "มีปริมาณน้ำตาลในเลือดอยู่เท่าใด" เมื่อทราบปริมาณน้ำตาลในเลือดแน่อนอนแล้ว จึงปฏิบัติดังนี้คือ ให้ใช้ใบอินทนิลน้ำตากแห้งจำนวน 10% ของปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนไข้ เช่น คนไข้มีน้ำตาลในเลือด 300 มิลลิกรัม ให้ใช้ใบอินทนิลน้ำ 30 ใบ บีบให้แตกละเอีดย และใส่น้ำบริสุทธิ์เท่าปริมาณความต้องการของคนไข้ผู้นั้นใช้ดื่มในวันหนึ่งๆ เทลงในหม้อเคลือบ หรือหม้อดิน ไม่ควรใข้ภาชนะอลูมิเนียมต้มยา แล้วเคี่ยวให้เดือดประมาณ 15 นาที นำน้ำยาใบอินทนิลน้ำชงใส่ภาชนะไว้ให้คนไข้ดื่มแทนน้ำตลอดวัน ติดต่อกันไป 20-30 วัน จึงควรตรวจน้ำตาลในเลือดของคนไข้ผู้นั้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปรากฎว่าปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนไข้ลดปริมาณเหลือน้อยลงก็ให้ลดจำนวนใบอินทนิลน้ำลงตามปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนไข้ สมมุติว่า น้ำตาลในเลือดของคนไข้ลดลงเหลือ 200 มิลลิกรัม ก็ควรลดจำนวนอินทนิลน้ำลงเหลือ 20 ใบ แล้วนำไปต้มเคี่ยวให้คนไข้ดื่มน้ำ ดื่มต่อไปทุกๆ วันติดต่อกัน 15-21 วัน จึงควรตรวจปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนไข้อีกครั้งหนึ่ง หากน้ำตาลลดลงอีกก็ให้ลงปริมาณใบอินทนิลน้ำให้เหลือ 10% ของปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนไข้ จนกระทั่งน้ำตาลลดลงอยู่ในระดับปกติ จึงควรงดใช้ใบอินทนิลน้ำให้คนไข้รับประทานชั่วคราว หากปริมาณน้ำตาลในเลือดของคนไข้เพิ่มขึ้นผิดปกติเมื่อใด ก็ให้คนไข้เริ่มรับประทานใบอินทนิลน้ำใหม่ สลับกันจนกว่าคนไข้ผู้นั้นจะหายป่วยจากโรคเบาหวาน เป็นปกติ

ดอกหิรัญญิการ์

ดอกหิรัญญิการ์ ชื่อวิทยาศาสร์ Beaumontia brevityba. Oliv. ตระกูล APOCYNACEAE ชื่อสามัญ Nepal Trumpet ลักษณะทั่วไป ต้น หิรัญญิการ์เป็นไม้เถาใหญ่เนื้อแข็ง ทุกส่วนของลำต้นหรือเถาจะมียางสีขาว ส่นยอดหรือส่วนอื่นๆ ที่ยังอ่อนอยู่จะมีขนสีน้ำตาลอมแดงขึ้นปกคลุม หิรัญญิการ์มักเลื้อยเกาะพันต้นไม้อื่นและสามารถ เลื้อยไปได้ไกลประมาณ 15 เซนติเมตร แตกกิ่งก้า
นสาขาแผ่เป็นพุ่มแน่นเฉพาะส่วนยอดหรือ บริเวณที่ได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ ใบ หิรัญญิการ์เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกใบเป็นคู่ตรงข้ามกันตามข้อต้นลักษณะใบหยาบยาวหนา รูปใบมน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ขอบใบเรียบ เกลี้ยง ไม่มีจัก ใบมีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร และ กว้างป ระมาณ 4-6 เซนติเมตร ใบด้านบนเป็นมัน ดอก ดอกหิรัญญิการ์มีขนาดใหญ่ สีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกมีลักษณะคล้ายถ้วย ตอนปลายของดอกจะบานกว้างมี 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ติดอยู่กับเนื้อบริเวณ โคนกลีบ มีลักษณะเป็นเส้นยาว แยกออกจากกัน คือจะมีเกสรติดอยู่กลีบละ 1 อัน หนึ่งดอกมีเกสร ตัวผู้อยู่ 5 อัน ส่วนเกสรตัวเมียจะมีลักษณะเป็นแท่งขนาดเล็กซ่อนอยู่ข้างในดอก ดอกเมื่อบานเต็ม ที่จะมีความกว้างประมาณ 8 เซนติเมตรและยายประมาณ 13 เซนติเมตร ช่อดอกหนึ่ง ๆ จะมีดอกตั้ง แต่ 6-15 ดอก ดอกจะผลัดกันบานครั้งละประมาณ 4 ดอก “หิรัญญิการ์" เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก ดังนั้นหากต้องการเลี้ยงเป็นซุ้ม ตัวซุ้มควรมีความแข็งแรง ช่วงแรกต้องใช้การค้ำยันพอสมควร แต่เมื่อถึงในระดับหนึ่งเขาจะทรงได้ด้วยตัวเอง เพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง สามารถเลื้อยไปได้ไกลกว่า 10 เมตร เนื่องจากเป็นไม้ดอกเธอจึงชอบกินแสงแดดเป็นอาหาร ต้องให้เธอโดนแดดประมาณว่ากลางแจ้งเลย แต่เบื่อตรงนี้ทุกส่วนจะมียาง คุณพี่ชายไม่ค่อยชอบไม้ประเภทมียางสักเท่าไหร่ แต่ท่านเห็นดอกที่กำลังเบ่งบานในปีแรกแล้ว ท่านบอกว่าแบบนี้มียางก้อรับได้นะคะ ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ สบายจมูกและสดชื่น ดอกของเธอจะมีสีขาว ดีไซน์คล้ายแตร จะให้ดอกช่วงปลายปีไปถึงต้นปี ช่อดอกแต่ละช่อมีมากกว่า 10 ดอก แต่จะไม่บานพร้อมกัน ดังนั้นแม้ว่าหิรัญญิการ์จะมีอายุของดอกไม่ยาวนัก แต่จะมีการผลัดกันบานและการโรยอย่างต่อเนื่องนะคะ

แกลดิโอลัส

.แกลดิโอลัส แกลดิโอลัส (อังกฤษ: Gladiolus) จัดเป็นพืชหัว (Corm) เมื่อปลูกแล้วจะเกิดหัวใหม่ขึ้นแทนหัวเก่า สามารถใช้ขยายพันธุ์ ได้ต่อไป และยังมีหัวย่อยเกิดขึ้นอีกมากมาย ปัจจุบันนี้มีการผลิตหัวย่อยได้ผลดีที่ภาคเหนือของประเทศไทย ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 1.แกลดิโอลัส แกรนดิฟลอรัส (Gladiolus grandiflorus) เป็นชนิด
ต้นใหญ่ ช่อดอกอวบยาว และแข็งแรง ดอกใหญ่เรียงชิดกัน ช่อดอกหนึ่ง ๆ อาจมีดอกถึง 20 ดอก และดอกบานพร้อมกันประมาณ 5-7 ดอก 2.แกลดิโอลัส พรายมูลินัส (Gladiolus primulinus) เป็นชนิดต้นเล็ก ช่อดอกเล็กยาวเรียว ดอกเล็กเรียงห่างกัน จำ นวนดอกในช่อน้อย มีลักษณะพิเศษคือ กลีบบนชั้นในงุ้มงอปรกเกสร 3.แกลดิโอลัส ทูเบอเจนนิอาย (Gladiolus tubergenii) เป็นชนิดที่ต้นและดอกเล็ก แต่ดอกในช่อเรียงชิดกันใช้ในการผสมเพื่อผลิตแกลดิโอลัสพันธุ์ดอกจิ๋ว 4.แกลดิโอลัส โควิลลีอาย (Gladiolus covillei) เป็นลูกผสมระหว่าง แกลดิโอลัส คาร์ดินาลิส (Gladiolus cardinalis) ซึ่งเป็นชนิดที่มีต้นสูงใหญ่ ดอกสีแดง กับแกลดิโอลัส ทริสติส (Gladiolus tristis) ซึ่งเป็นชนิดดอกเล็ก สูงไม่เกิน 60 ซม. ใน 1 ช่อมีเพียง 2-4 ดอก มีสีขาวหรือครีม และมีสีม่วงหรือสีนํ้าตาลปนอยู่เป็นเส้น 5.แกลดิโอลัส นานุส (Gladiolus nanus) เป็นประเภทหนึ่งของพันธุ์โควิลลีอายที่ต้นมีขนาดเล็ก ช่อดอกเล็กเรียวยาว ขนาดดอกเล็กบอบบาง มีสองสีในแต่ละกลีบจำ นวนดอกในช่อน้อยและ ดอกจะบานพร้อมกันคราวหนึ่งเพียง 1-2 ดอก ในแต่ละช่อ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

รักเร่

รักเร่ รักเร่ เป็นพันธุ์ไม้ดอกที่มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโก โคลัมเบีย และทั่วไปในทวีปอเมริกากลาง ดอกมีรูปทรงและสีสรรสวยงามสะดุดตา ก้านดอกแข็งแรง นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก เช่นเดียวกับกุหลาบ แต่ในประเทศไทยไม่นิยมปลูก เนื่องมาจากมีชื่อที่ไม่เป็นมงคล ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ รักเร่เป็นไม้พุ่ม รากมีลักษณะคล้ายหัว ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก
มาย ดอกเป็นแบบเดียวกับเบญจมาศ ก้านดอกยาวแข็งแรง กลีบดอก แบ่งออกเป็น 2 ตอน กลีบดอกชั้นนอกนี้แผ่กว้างออก หรืออาจจะห่อเป็นหลอดก็ได้แล้วแต่ชนิดของดอก มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน กลีบรองดอก ด้านในเป็นแผ่นบาง ๆ เรียงกันเป็นระเบียบติดอยู่กับฐานของดอก ส่วนกลีบรองดอกด้านนอบเล็กกว่าด้านใน เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่ ดอกมีหลายสี เช่น ชมพู น้ำเงิน ขาว แดง แสด ส้ม ม่วง และเหลือง เป็นต้น การดูแล และการขยายพันธ์ รักเร่ชอบขึ้นในที่กลางแจ้งแดดจัด แต่มีความชื้นพอเพียง ควรปลูกในดินที่ร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี บางครั้งจำเป็นต้องหาวัสดุคลุมดินให้รักเร่ เช่น ฟาง ใบไม้แห้ง หรือเปลือกถั่ว เป็นต้น สำหรับการขยายพันธุ์รักเร่นั้น สามารถเพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ต่อกิ่ง หรือใช้ราก เมื่อต้นให้ดอกแล้วต้นจะแก่และโทรมไปในที่สุด โดยจะทิ้งรากที่เป็นหัวไว้ในดิน ให้ตัดต้นเหนือระดับดินประมาณ 3 นิ้ว เพราะส่วนของตาที่จะเจริญเป็นต้นใหม่จะอยู่บริเวณโคนต้น แล้วจึงขุดหัวขึ้นมาจากดิน ประโยชน์ หัวใต้ดิน นำมาต้มกับหมูรับประทานแก้โรคหัวใจ แก้ไข้ต้น น้ำคั้นจากต้นมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะอ่อน ๆ ฆ่าเชื้อ Staphylococcus แต่สำหรับใบรักเร่ บางพันธุ์มีพิษ ไม่นิยมรับประทาน ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ รักเร่เป็นไม้พุ่ม รากมีลักษณะคล้ายหัว ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ดอกเป็นแบบเดียวกับเบญจมาศ ก้านดอกยาวแข็งแรง กลีบดอก แบ่งออกเป็น 2 ตอน กลีบดอกชั้นนอกนี้แผ่กว้างออก หรืออาจจะห่อเป็นหลอดก็ได้แล้วแต่ชนิดของดอก มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน กลีบรองดอก ด้านในเป็นแผ่นบาง ๆ เรียงกันเป็นระเบียบติดอยู่กับฐานของดอก ส่วนกลีบรองดอกด้านนอบเล็กกว่าด้านใน เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่ ดอกมีหลายสี เช่น ชมพู น้ำเงิน ขาว แดง แสด ส้ม ม่วง และเหลือง เป็นต้น การดูแล และการขยายพันธ์ รักเร่ชอบขึ้นในที่กลางแจ้งแดดจัด แต่มีความชื้นพอเพียง ควรปลูกในดินที่ร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี บางครั้งจำเป็นต้องหาวัสดุคลุมดินให้รักเร่ เช่น ฟาง ใบไม้แห้ง หรือเปลือกถั่ว เป็นต้น สำหรับการขยายพันธุ์รักเร่นั้น สามารถเพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ต่อกิ่ง หรือใช้ราก เมื่อต้นให้ดอกแล้วต้นจะแก่และโทรมไปในที่สุด โดยจะทิ้งรากที่เป็นหัวไว้ในดิน ให้ตัดต้นเหนือระดับดินประมาณ 3 นิ้ว เพราะส่วนของตาที่จะเจริญเป็นต้นใหม่จะอยู่บริเวณโคนต้น แล้วจึงขุดหัวขึ้นมาจากดิน ประโยชน หัวใต้ดิน นำมาต้มกับหมูรับประทานแก้โรคหัวใจ แก้ไข้ต้น น้ำคั้นจากต้นมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะอ่อน ๆ ฆ่าเชื้อ Staphylococcus แต่สำหรับใบรักเร่ บางพันธุ์มีพิษ ไม่นิยมรับประทาน เกร็ด ในอเมริกามีคดีฆาตกรรมดัง ที่ยังเป็นปริศนามาถึงทุกวันนี้อยู่คดีหนึ่งชื่อว่า Black Dahlia (ดอกรักเร่สีดำ)

อาซาเลีย

อาซาเลีย อาซาเลียเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ ถึงแม้ว่าจะมีบางส่วนที่อยู่ในเขตร้อน แต่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากและมีอากาศเย็นตลอดปี จึงเป็นการยากที่จะทำการปลูกเลี้ยงในพื้นที่ราบที่มีอุณหภูมิสูง แต่ก็มีบางพันธุ์ที่พอจะสามารถปรับตัวให้อยู่รอดและเจริญเติบโตผลิดอกได้ในสภาวะดังกล่าว แต่อาจจะต้องมีการปรับสภาพแว
ดล้อม อุณหภูมิ ความชื้น ฯลฯ เพื่อให้เอื้อต่อการเจริญเติบโตของอาซาเลีย อาซาเลียเป็นพืชที่มีรากขนาดเล็กและบอบบางมาก ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องดูแลเรื่องเครื่องปลูกเป็นอย่างดี เครื่องปลูกจะต้องอุ้มน้ำได้ดี ร่วนซุย และระบายน้ำได้ดีด้วยเพราะถ้าเครื่องปลูกแน่นมากรากจะชอนไชในเนื้อดินหรือเครื่องปลูกไม่ได้ทำให้ไม่เจริญเติบโต ที่สำคัญอาซาเลียเป็นพืชที่ชอบเครื่องปลูกที่มีสภาพความเป็นกรด ตามตำราต่างประเทศนั้นระดับความเป็นกรดของเครื่องปลูกที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของอาซาเลียอยู่ที่ 4.5-6.0 ดังนั้นในต่างประเทศการปลูกเพื่อจำหน่ายมักจะใช้พีทมอสเป็นเครื่องปลูกเนื่องจากว่ามีสภาพความเป็นกรด แต่จากประสบการณ์ เราสามารถหาเครื่องปลูกในบ้านเราแทนได้ ได้แก่ หน้าดินที่มีฮิวมัสสูงผสมกับแกลบ ขุยมะพร้าว ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ส่วนผสมอัตราส่วนเท่าไรก็ได้ตามที่เมื่อผสมมาแล้วได้เครื่องปลูกที่ร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และระบายน้ำได้ดีเป็นใช้ได้ ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhododendron arboreum subsp. ชื่อวงศ์: ERICACEAE ชื่อพื้นเมือง: คำแดง ลักษณะทั่วไป: ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 2-12 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นและกิ่งก้านมักคดงอเพราะอิทธิพลของแรงลม เปลือกตะปุ่มตะป่ำ ใบ เรียงเวียนสลับใกล้ๆ กันเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง 5-8 ใบ ใบรูปใบหอกกว้าง หรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 2-3 ซม. ยาว 7-14 ซม. ปลายแหลม โคนสอบหรือมน ขอบเรียบงอลง แผ่นใบหนามาก ด้านบนเกลี้ยงสีเขียวสด ด้านล่างมีเกล็ดสีเทาอมน้ำตาลและมีขนหนาแน่น เส้นแขนงใบข้างละ 12-14 เส้น ดอก ช่อดอกสั้น ออกตามปลายกิ่ง 4-12 ดอก ดอกบานเต็มที่กว้าง 3.5-4.5 ซม. กลีบดอกสีแดงเลือดนก ติดกันคล้ายรูประฆัง ยาว 1.5-2 ซม. ปลายแยกเป็น 5-6 กลีบ กลม กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 1.3-1.5 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาวไม่เท่ากัน ก้านชูอับเรณูสีขาว โคนก้านสีม่วงอมแดง รังไข่มีขนสีขาวหนาแน่น ฝัก/ผล รูปทรงกระบอก กว้าง 6-7 มม. ยาว 1.3-1.6 ซม. ผลแก่แตกเป็น 7-8 เสี่ยง เมล็ด แบน เล็กมาก มีปีกบางใสล้อมรอบ มีเมล็ดจำนวนมาก ฤดูกาลออกดอก: มกราคม - กุมภาพันธ์ ถิ่นกำเนิด: ขึ้นตามไหลเขาบนที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,800 เมตรขึ้นไป จีนตอนใต้ อินเดีย ศรีลังกา เนปาล และพม่า แหล่งที่พบ: เชียงใหม่ กุหลาบพันปี เป็นไม้ในวงศ์ : ERICACEAE ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ กุหลาบ ( วงศ์ ROSA ) ที่ เรารู้จักกัน แต่เนื่องจากมีดอกสีแดง เหมือนกุหลาบ และลำต้นที่มีมอสเกาะ คล้ายกับมีอายุเป็นพันปี จึงเรียกไม้ชนิดนี้กันว่า กุหลาบพันปี ที่ดอยอินทนนท์ พบอยู่ 3 ชนิดคือ 1. ดอกสีแดง เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีชื่อท้องถิ่นว่า คำแดง ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า : Rhododendron arboreum subsp. delavayi ( Franch.) Chamberlain มีลำต้นสูง 2 - 12 เมตร ลำต้นและกิ่งคดงอมีขนาดใหญ่ ใบเป็นรูปหอกกลับ ( คล้ายใบขนุน) ใบหนา ลักษณะเด่นที่ต่างจากกุหลาบพันปีดอกสีขาวคือ ที่ลำต้นมีเปลือกหนา จะพบได้ตั้งแต่พื้นที่ ที่มีอากาศหนาวเย็น และความชื้นสูง เมืองไทยพบที่ดอยอินทนนท์ ที่เดียว ตั้งแต่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,800 เมตร ขึ้นไป ดอกเป็นช่อ ช่อละ 4 - 12 ดอก ออกดอกในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือน ธันวาคม ถึง กุมพาพันธ์ . และถือว่าเป็นต้นไม้ประจำชาติเนปาล 2. ดอกสีขาว เป็นไม้พุ่ม ชื่อท้องถิ่นเรียก คำขาว หรือ กุหลาบป่า ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า : Rhododendron moulmeinene Hook มีลำต้นสูง 2 - 8เมตร ลำต้นและกิ่งคดงอมีขนาดใหญ่ ใบเป็นรูปหอกกลับ ( คล้ายใบขนุน) ใบหนา ลักษณะดอกจะแตกต่างจาก กุหลาบพันปีสีแดงคือ ดอกสีขาวมีขนาดใหญ่กว่า แต่จำนวนดอกในแต่ละช่อ จะมีจำนวนน้อยกว่า ( 4 - 8 ดอก )จะพบได้ตั้งแต่พื้นที่ ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตร ขึ้นไป นอกจากนี้ ยังพบที่ บริเวณยอดเขา อุทยานแห่งชาติ เขาหลวง จ.นครศรีธรรมราช อีกด้วย ดอกออกในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือน ธันวาคม ถึง กุมพาพันธ์ จะพบเห็นได้เต็มสองข้างทาง ตั้งแต่ กม. 42 ขึ้นมา ส่วนดอกสีแดงนั้น จะพบได้ในป่า บริเวณกิ่วแม่ปาน หรือ อ่างกา 3. ดอกสีขาว เป็นจำพวกกาฝาก ชื่อท้องถิ่นเรียก กายอม หรือ กุหลาบขาว ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า : Rhododendron veitchianum Hook มีลำต้นสูง 2 - 3 เมตร ลำต้นและกิ่งคดงอ ใบเป็นรูปใข่กลับ ใบหนา อาศัยเกาะอยู่กับต้นไม้ใหญ่ ซอกหิน หรือโขดหิน ที่มีความชุ่มชื้นสูง จะพบได้ตั้งแต่พื้นที่ ป่าดิบเขา ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตร ดอกออกในช่วงเริ่มเข้าฤดูหนาว ระหว่างเดือน ตุลาคม ถึง มีนาคม หมายเหตุ Rhododendron arboreum แบ่งออกได้เป็น 5 ชนิดย่อย (subspecies) มีตั้งแต่สีขาว สีชมพู และสีแดงเข้ม และชนิดย่อย delavayi แบ่งออกเป็นอีก 2 ชนิดย่อย (varieties) คือ var. delavayi และ var. peramoenum ซึ่งมีใบแคบและยาวกว่า และสิ่งปกคลุมใต้ท้องใบไม่หนาแน่น พบเฉพาะที่อินเดียและจีนด้านตะวันตก อนึ่ง ชื่อชนิดย่อย delavayi ตั้งเป็นเกียรตินักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส P?re Jean Marie Delavay (1834 - 1895)

climber หรือกุหลาบเลื้อย

climber หรือกุหลาบเลื้อย Climber หรือกุหลาบเลื้อย ถิ่นกำเนิด : ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือและใต้ ลักษณะทั่วไป : ไม้พุ่มกึ่งเลื้อยหรือไม้เลื้อยขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ อายุหลายปี ยอดเลื้อยพาดได้ไกล 2-5 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมักมีหนาม ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ดอกสลับใบย่อย 5-9 ใบ รูปรี ขนาด 3-4 x 3-6 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบจักฟันซี่
แผ่นใบสีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 1-2 เซนติเมตร ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายยอด ฐานรองดอกรูปถ้วย กลีบเลี้ยง 4-5 ดอก กลีบดอก 4-5 กลีบหรือมากกว่านี้ มีสีต่าง ๆ เกสรเพศผู้และเพศเมียจำนวนมาก เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2-8 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม ไม่ติดผล ฤดูออกดอก :ตลอดปี ดอกดกช่วงหน้าหนาว การปลูกเลี้ยง :นิยมปลูกเป็นซุ้มไม้เลื้อยหรือเป็นแนวรั้ว ชอบแสงแดดจัด ดินร่วนระบายน้ำดี อินทรียวัตถุสูง และอากาศเย็น สิ่งสำคัญต้องหมั่นตัดแต่งกิ่งไม่ให้เลื้อยรก ขยายพันธุ์ด้วยการติดตา ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง ลำต้นสูงตรง เลื้อยพันกับสิ่งต่างๆ ดอกมีหลายขนาด เช่น พันธุ์ดอกจาน ค็อกเทล เอนเจลา คอมพาซชั่น เป็นต้น กุหลาบเลื้อยมีทั้งเลื้อยโดยสายพันธุ์แท้ และกุหลาบเลื้อยจากการกลายพันธุ์ เช่น สายพันธุ์ปาร์เตน็องเลื้อย วาเลนไทน์เลื้อยชื่อวิทยาศาสตร์ Rosa hybrid

Miniature หรือกุหลาบหนู

Miniature หรือกุหลาบหนู ลักษณะทั่วไป กุหลาบหนู เป็นกุหลาบที่มีความสวยงามน่ารักและสดใส เป็นไม้พุ่ม สูง 20 - 50 เซนติเมตร ลำต้นมีหนามใบประกอบออกสลับ ใบย่อย 5 ใบ เป็นรูปรี ขอบหยัก ปลายแหลม โคงมน หูใบติดกับก้านใบ สีเขียวสดดอก มีหลายสี เช่น สีแดง สีขาว สีชมพู และดอกเดียว 2 สี ออกเป็นดอกเดี่ยวๆที่ปลายยอด กลีบดอกมีทั้งชั้นเดียวและหลายชั้น มีกลีบดอกห้าก
ลีบ เกสรตัวผู้และตัวเมียแยกที่อยู่กัน ชนิดสองสี ปลาบกลีบดอกเป้นสีแดง โคนกลีบดอกเป็นสีขาว เวลาออกดอกบานจะดูสวยงามสดใสมาก Smileyฤดูกาลออกดอก ออกดอกตลอดทั้งปี Smileyสภาพการ ปลูกกุหลาบหนูเป็นไม้กลางแจ้ง ปลูกได้ทั้งลงดินและปลูกลงกระถาง เป็นไม้ชอบแดดจัด ไม่ชอบน้ำท่วมขังถ้าปลูกลงดินควรยกแปลงปลูกให้สูง ปลูกในกระถางควรทำทางระบายน้ำใหัไหลดี ตั้งในที่ที่มีแดดส่องถึงทั้งวันดินปลูกเพิ่มฟางแห้งหั่น ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก แกลบดำ แกลบดิบ คลุกให้เข้ากัน จากนั้นนำต้นลงปลูก กลบดินโคนต้นให้แน่น ใช้ฟางแห้งคลุมหน้าดินไว้ บำรุงปุ๋ยขี้วัวขี้ควายแห้งโรยตามหน้าดิน 15 วันครั้ง จะทำให้ โตเร็วและมีดอกสวยงาม Smileyยิ่งเก็บดอก ยิ่งได้ดอก ต้นกุหลาบหนู จะเริ่มเก็บดอกได้ตั้งแต่อายุประมาณ 2 เดือน ภายหลังปลูก โดยยิ่งเก็บดอกก็จะยิ่งมีการแตกกิ่งก้าน ทรงพุ่ม และยิ่งให้ดอกมากขึ้นเรื่อยๆ บนต้นกุหลาบหนูอายุประมาณ 6 เดือน 1 ต้น จะสามารถเก็บดอกในแต่ละวันได้ไม่น้อยกว่า 20 ดอก บางทีต้นเดียวเก็บได้ถึง 50 ดอกก็มี แล้วแต่ช่วงจังหวะเวลาบนพื้นที่ 1 ไร่ ในระยะที่กำลังให้ดอกดีมีสภาพอากาศอันเหมาะสม บำรุงต้นมาดี จะสามารถเก็บดอกได้ 5,000- 10,000 ดอกต่อครั้งโดยบนแปลงเดียวกันนั้นเราจะสามารถเก็บดอกได้ 3 วันต่อครั้ง นั่นคือ เก็บ 1 วัน แล้วเว้น 2 วันนั่นเอง Smileyการตัดแต่งบำรุงต้น แม้ว่ากุหลาบหนูจะให้ดอกตลอดเวลาแต่ก็จะให้ดอกตามการดูแลเป็นระยะ เช่น เราดูแลมาดีแล้วก็จะให้ดอกดีอยู่ประมาณ 1 เดือนแล้วเริ่มซาลง ระยะที่ดอกซาลงนี้เราควรจะทำการตัดแต่ง เอากิ่งแก่ กิ่งเสีย ออกจากต้นไปบ้างแล้วทำการบำรุงดีๆอีกครั้งหนึ่ง ให้ปุ๋ยทางดินเป็นการกระตุ้นเช่นนี้จะต้องทำอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 2 เดือนต่อครั้งหรือถ้าสามารถทำได้ทุกเดือนก็จะเป็นการดี กุหลาบหนูบนพื้นที่ประมาณ 3-4 ไร่ในระยะที่ดอกดี ราคาดี จะสามารถทำเงินได้วันละ 2-3 พันบาท ซึ่งนับว่าเป็นรายได้ที่ไม่น้อยเลย เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆออกแล้วก็ยังมีเหลือจนน่าพอใจ แต่บางระยะเวลา ก็มีการปลูกกันมากจนผลผลิตล้นตลาดส่งผลให้ราคาตกมาก จึงต้องพร้อมเสี่ยงต่อเหตุการณ์เช่นนี้ด้วย

Floribunda หรือกุหลาบพวง

Floribunda หรือกุหลาบพวง Floribunda (FL) หรือ กุหลาบพวง ได้แก่กุหลาบที่นิยมปลูกกันในแปลง หรือปลูกประดับอาคารเพื่อความสวยงาม กุหลาบพวงมีความแข็งแรงทนทานกว่ากุหลาบตัด ดอก ออกดอกดกแต่ดอกไม่ใหญ่เท่ากับกุหลาบตัดดอกแต่มีครบทุกสี และออกดอกเป็นช่อทีละหลาย ๆ ดอก จึงนิยมเรียกว่ากุหลาบพวง และมักบานพร้อมกัน ดอกมีขนาดเล็ก พุ่มต้นตั้งตรงสูง ประมาณครึ่งเมตรถึง 1 เมตร เหมาะสมที่จะปลูกในแปลงประดับ
และในกระถางเช่น พันธุ์ฟูซีเลียร์, พันธุ์แองเจลเฟส ลักษณะ แข็งแรงทนทานกว่ากุหลาบตัดดอก ทนต่อความหนาวเย็น ออกดอกดกแต่ไม่ใหญ่เท่ากับกุหลาบตัดดอก ออกดอกเป็นพวกหรือเป็นช่อ แยกเป็น พวงก้านสั้น - ต้นจะเตี้ย ทรงพุ่มดี ปลูกเป็นไม้ประดับ เช่น Valentine, Summer Snow, Simplicity พวงก้านยาว - ต้นเตี้ยถึงสูงปานกลาง พุ่มดี เป็นได้ทั้งไม้ตัดดอกและไม้ประดับ เช่น Europa, Mercedes หนึ่งช่อ มีหลายดอกและดอกมักจะบานพร้อมๆกัน ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกซ้อนกัน มีช่วงการออกดอกยาวนาน ก้านดอกอ่อน พุ่มตั้งตรง สูงประมาณครึ่งเมตรถึงหนึ่งเมตร

กุหลาบนานาชนิด

กุหลาบนานาชนิด กุหลาบตัดดอกหรือไฮบริดที(Hybrid Tea หรือ HT) เป็นภาพของคุณ Vorapan Thanomsing กุหลาบที่ปลูกในประเทศไทยปัจจุบันนี้มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ซึ่งถ้าแบ่งออกโดยสังเขป จะได้ดังนี้ กุหลาบตัดดอกหรือไฮบริดที(Hybrid Tea หรือ HT) ปกติมักออกดอกเป็นดอกเดี่ยว มีขนาดโตกลีบดอกซ้อน พุ่มต้นตั้งตรงสูงประมาณ 1-2 เมตร กุหลาบที่มีขายทั่วไป ตามท้องตลาดขณะนี้มักจะเป็นกุหลาบประเภทนี้อย่างไรก็ตาม พันธุ์ไฮบริดทีนั้นมิได้ใช่ป
ลูกเป็นไม้ตัดดอกได้ดีทุกพันธุ์ดังนั้น จําเป็นต้องคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมสําหรับแต่ละท้องที่ ลักษณะที่เหมาะสม สําหรับจะใช้เป็นพันธุ์สําหรับตัดดอก คือ แข็งแรง ต้นโต เลี้ยงง่ายและเจริญเติบโตได้ดี ออกดอกสมํ่าเสมอไม่โทรมไวเมื่อถูกตัดดอกไปมาก ทนต่อโรคและแมลงได้ดีพอสมควร ลําต้นตั้งตรง ซึ่งจะทําให้ปลูกได้ชิดกันเป็นการประหยัดเนื้อที่ ให้กิ่งกานยาวตรง มีหนามน้อย ใบงามสมดุลกับกิ่ง ฟอร์มดอกดีทรงดอกยาวแบบแจกันหรือปลายกลีบดอกแหลม กลีบดอกไม่ซ้อนหนาเกินไปจนดอกบานไม่ออก กลีบดอกหนา ทนต่อการบรรจุหีบห่อและขนส่ง

บีโกเนีย

3.บีโกเนีย ชื่อวงศ์: Begoniaceae ชื่อสามัญ: Begonia ชื่อพื้นเมือง: ส้มกุ้ง , ก้ามกุ้ง, สมมติ ลักษณะทั่วไป: ต้น ไม้อวบน้ำอายุยืน มีเหง้าออยู่ใต้พี้นดิน ลำต้นสูงจากพื้นดิน 15-45 ซม. ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกสลับ รูปร่าง ขนาด และสีสันแตกต่างกันในตและพันธุ์ ใบมีลักษณะเบี้ยว คือ แผ่นใบสองข้างไม่เท่ากัน รูปหัวใจ
ใบเกิดเวียนรอบลำต้นบางชนิดมีขนเหมือนกำมะหยี่ ดอก ดอกออกเป็นช่อแทงทะลุซอกใบ ช่อดอกตัวผู้แยกจากช่อดอกตัวเมีย แต่อยู่บนต้นเดียวกันดอกตัวมีเมียมีรังไข่ที่โป่งออกเป็นปีกสามแฉกที่โคนดอก ดอกตัวเมียบานทนกว่าดอกตัวผู้ ปกติ บีโกเนียดอกมีหลายสี เช่น ชมพู ส้ม ขาว บีโกเนียเป็นพืชสกุลใหญ่ จึงแบ่งออกเป็นพวกๆ โดยอาศัยรูปร่างของส่วน สะสมอาหารหรือรากเป็นหลักได้ดังนี้ คือ 1. บีโกเนียชนิดที่มีรากฝอย (Fibrous – rooted begonia) มีใบสีเขียวและสีน้ำตาลเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อ มีทั้งสีขาว สีชมพู สีแดง และสองสี เช่น ขาวขอบแดง 2. บีโกเนียชนิดที่มีเหง้า (Rhizomatous begonia) ส่วนมากเป็นบีโกเนียที่ปลูกประดับใบ ใบมีสีสวยมีหลายแบบ เช่น รูปใบกลม รูปหัวใจ มีกลีบดอกชั้นเดียว 3. บีโกเนียชนิดที่มีหัว (Tuberous begonia) ดอกมีขนาดใหญ่ มีทั้งดอกชั้นเดียว และดอกซ้อน ฤดูกาลออกดอก: ออกดอกตลอดปี การปลูก: ปลูกเป็นพืชคลุมดิน เป็นไม้กระถาง หรือ ไม้ในภาชนะแขวนก็ได้ การดูแลรักษา: ดินที่ใช้ปลูกควรเป็นดินร่วนซุย บริเวณที่มีแสงแดดรำไร รดน้ำปานกลาง อย่าให้แฉะ และควรรดปุ๋ยทางใบ ทุกๆ 2 สัปดาห์ ไม่ชอบอากาศหนาวเย็น การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำยอดและใบ การใช้ประโยชน์: - ไม้ประดับ - ชนิดที่พบตามป่าเขา มีรสเปรี้ยว สามารถนำมาประกอบอาหารได้ ถิ่นกำเนิด: เอเชีย และ อเมริกา

ฟาแลนนอปซิสพันธุ์

2.ฟาแลนนอปซิสพันธุ์ ฟาแลนนอปซิสพันธุ์แท้จะมีดอกขนาดค่อนข้างเล็กจึงมีการปลูกเลี้ยงกันไม่มาก แต่ปัจจุบันกล้วยไม้สกุลฟาแลนนอปซิส ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์จนทำให้ได้ดอกที่สวยงาม ทั้งรูปทรงและสีของดอก เช่น ดอกกลมใหญ่ กลีบดอกหนา ดอกมีหลากหลายสีและมีลวดลายแปลกตา ฟาแลนนอปซิสมีดอกที่สวยงาม เลี้ยงง่าย โตเร็ว อีกทั้งยังสามารถน
ำมาผสมพันธุ์ได้หลายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นลูกผสมในสกุลฟาแลนนอปซิสด้วยกัน หรือผสมกับสกุลอื่น เช่น สกุลม้าวิ่ง (Doritis) สกุลแวนด้า (Vanda) สกุลรีแนนเธอรา หรือสกุลแมลงปอ (Arachnis) และยังพัฒนาสายพันธุ์เพื่อผลิตเป็นการค้าได้อีก สามารถนำดอกของฟาแลนนอปซิสมาเป็นดอกไม้ประดับแจกันหรือเป็นของขวัญในโอกาสสำคัญๆ จึงทำให้มีผู้คนนิยมปลูกเป็นจำนวนมาก การปลูกเลี้ยงฟาแลนนอปซิส ฟาแลนนอปซิสเป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ใบค่อนข้างหนาซึ่งต้องระวังในเรื่องความชื้นที่มีมากไปก็จะทำให้ต้นและใบ เน่าได้ง่าย สามารถปลูกลงกระถางโดยการปลูกจะต้องให้โคนต้นและรากส่วนบน อยู่เหนือเครื่องปลูกขึ้นมา แต่อยู่ต่ำกว่าระดับขอบกระถาง ซึ่งจะดูสวยงามและป้องกันไม่ให้โคนต้นและโคนใบได้รับความชื้นมากเกินไปจนทำให้เน่า ฤดูที่เหมาะสมในการปลูกประมาณเดือนมีนาคม หรือก่อนเข้าฤดูฝน เพราะถ้าปลูกหลังจากที่เข้าฤดูฝนแล้วอากาศมีความชื้นสูง อาจทำให้กล้วยไม้อวบน้ำมากเกินไปจนเน่าได้ ดังนั้นจึงต้องควบคุมเรื่องน้ำและความชื้นค่อนข้างมาก หรือบางคนอาจปลูกโดยให้ต้นกล้วยไม้เกาะตอไม้หรือกิ่งไม้ก็สามารถทำได้ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดปัญหาน้ำฝนที่ตกลงมาขังในส่วนโคนต้นและใบได้ เพราะไม่มีเครื่องปลูกที่อมความชื้นไว้ น้ำที่ขังอยู่ที่ใบก็จะระเหยออกไปอย่างรวดเร็ว

ทิวลิป

1.ทิวลิป ทิวลิป เป็นดอกไม้เมืองหนาวที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรป เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของฮอลแลนด์ มีอยู่หลายสี ดอกทิวลิปจะปลูกได้ต้องใช้อุณหภูมิที่เหมาะสม คือไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส แม้ว่าทิวลิปจะเป็นดอกไม้ที่ทำให้นึกถึงฮอลแลนด์ แต่ทั้งดอกไม้และชื่อมีที่มาจากจักรวรรดิเปอร์เชีย ทิวลิปหรือ “lale” เช่นเดียวกับที่เรียกกันในตุรกี เป็นดอกไม้ท้องถิ่นของตุรกี,
อิหร่าน, อัฟกานิสถาน และบางส่วนของเอเชียกลาง แม้ว่าจะไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้นำทิวลิปเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปแต่ที่สำคัญคือตุรกีเป็นผู้ทำให้ทิวลิปมีชื่อเสียงที่นั่น เรื่องที่เป็นที่ยอมรับกันก็คือ Oghier Ghislain de Busbecqไปเป็นราชทูตของสมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในราชสำนักของสุลต่านสุลัยมานมหาราชแห่งจักรวรรดิออตโตมันในปี ค.ศ. 1554 Busbecq บรรยายในจดหมายถึงดอกไม้ต่างๆ ที่เห็นที่รวมทั้งนาร์ซิสซัส ดอกไฮยาซินธ์ และทิวลิปที่ดูเหมือนจะบานในฤดูหนาวที่ดูเหมือนผิดฤดู (ดู Busbecq, qtd. in Blunt, 7) ในวรรณคดีเปอร์เชียทั้งสมัยโบราณและสมัยใหม่ต่างก็ให้ความสนใจกับดอกไม้ชนิดนี้ คำว่า “tulip” ที่ในภาษาอังกฤษสมัยแรกเขียนเป็น “tulipa” หรือ “tulipant” เข้ามาในภาษาอังกฤษจากฝรั่งเศสที่แผลงมาจากคำว่า “tulipe” และจากคำโบราณว่า “tulipan” หรือจากภาษาลาตินสมัยใหม่ “tulpa” ที่มาจากภาษาตุรกี “tlbend” หรือ “ผ้ามัสลิน” (ภาษาอังกฤษว่า “turban” (ผ้าโพกหัว) บันทึกเป็นครั้งแรกในภาษาอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และอาจจะมา