วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อาซาเลีย

อาซาเลีย อาซาเลียเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ ถึงแม้ว่าจะมีบางส่วนที่อยู่ในเขตร้อน แต่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากและมีอากาศเย็นตลอดปี จึงเป็นการยากที่จะทำการปลูกเลี้ยงในพื้นที่ราบที่มีอุณหภูมิสูง แต่ก็มีบางพันธุ์ที่พอจะสามารถปรับตัวให้อยู่รอดและเจริญเติบโตผลิดอกได้ในสภาวะดังกล่าว แต่อาจจะต้องมีการปรับสภาพแว
ดล้อม อุณหภูมิ ความชื้น ฯลฯ เพื่อให้เอื้อต่อการเจริญเติบโตของอาซาเลีย อาซาเลียเป็นพืชที่มีรากขนาดเล็กและบอบบางมาก ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องดูแลเรื่องเครื่องปลูกเป็นอย่างดี เครื่องปลูกจะต้องอุ้มน้ำได้ดี ร่วนซุย และระบายน้ำได้ดีด้วยเพราะถ้าเครื่องปลูกแน่นมากรากจะชอนไชในเนื้อดินหรือเครื่องปลูกไม่ได้ทำให้ไม่เจริญเติบโต ที่สำคัญอาซาเลียเป็นพืชที่ชอบเครื่องปลูกที่มีสภาพความเป็นกรด ตามตำราต่างประเทศนั้นระดับความเป็นกรดของเครื่องปลูกที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของอาซาเลียอยู่ที่ 4.5-6.0 ดังนั้นในต่างประเทศการปลูกเพื่อจำหน่ายมักจะใช้พีทมอสเป็นเครื่องปลูกเนื่องจากว่ามีสภาพความเป็นกรด แต่จากประสบการณ์ เราสามารถหาเครื่องปลูกในบ้านเราแทนได้ ได้แก่ หน้าดินที่มีฮิวมัสสูงผสมกับแกลบ ขุยมะพร้าว ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ส่วนผสมอัตราส่วนเท่าไรก็ได้ตามที่เมื่อผสมมาแล้วได้เครื่องปลูกที่ร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และระบายน้ำได้ดีเป็นใช้ได้ ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhododendron arboreum subsp. ชื่อวงศ์: ERICACEAE ชื่อพื้นเมือง: คำแดง ลักษณะทั่วไป: ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 2-12 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นและกิ่งก้านมักคดงอเพราะอิทธิพลของแรงลม เปลือกตะปุ่มตะป่ำ ใบ เรียงเวียนสลับใกล้ๆ กันเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง 5-8 ใบ ใบรูปใบหอกกว้าง หรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 2-3 ซม. ยาว 7-14 ซม. ปลายแหลม โคนสอบหรือมน ขอบเรียบงอลง แผ่นใบหนามาก ด้านบนเกลี้ยงสีเขียวสด ด้านล่างมีเกล็ดสีเทาอมน้ำตาลและมีขนหนาแน่น เส้นแขนงใบข้างละ 12-14 เส้น ดอก ช่อดอกสั้น ออกตามปลายกิ่ง 4-12 ดอก ดอกบานเต็มที่กว้าง 3.5-4.5 ซม. กลีบดอกสีแดงเลือดนก ติดกันคล้ายรูประฆัง ยาว 1.5-2 ซม. ปลายแยกเป็น 5-6 กลีบ กลม กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 1.3-1.5 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาวไม่เท่ากัน ก้านชูอับเรณูสีขาว โคนก้านสีม่วงอมแดง รังไข่มีขนสีขาวหนาแน่น ฝัก/ผล รูปทรงกระบอก กว้าง 6-7 มม. ยาว 1.3-1.6 ซม. ผลแก่แตกเป็น 7-8 เสี่ยง เมล็ด แบน เล็กมาก มีปีกบางใสล้อมรอบ มีเมล็ดจำนวนมาก ฤดูกาลออกดอก: มกราคม - กุมภาพันธ์ ถิ่นกำเนิด: ขึ้นตามไหลเขาบนที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,800 เมตรขึ้นไป จีนตอนใต้ อินเดีย ศรีลังกา เนปาล และพม่า แหล่งที่พบ: เชียงใหม่ กุหลาบพันปี เป็นไม้ในวงศ์ : ERICACEAE ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ กุหลาบ ( วงศ์ ROSA ) ที่ เรารู้จักกัน แต่เนื่องจากมีดอกสีแดง เหมือนกุหลาบ และลำต้นที่มีมอสเกาะ คล้ายกับมีอายุเป็นพันปี จึงเรียกไม้ชนิดนี้กันว่า กุหลาบพันปี ที่ดอยอินทนนท์ พบอยู่ 3 ชนิดคือ 1. ดอกสีแดง เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีชื่อท้องถิ่นว่า คำแดง ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า : Rhododendron arboreum subsp. delavayi ( Franch.) Chamberlain มีลำต้นสูง 2 - 12 เมตร ลำต้นและกิ่งคดงอมีขนาดใหญ่ ใบเป็นรูปหอกกลับ ( คล้ายใบขนุน) ใบหนา ลักษณะเด่นที่ต่างจากกุหลาบพันปีดอกสีขาวคือ ที่ลำต้นมีเปลือกหนา จะพบได้ตั้งแต่พื้นที่ ที่มีอากาศหนาวเย็น และความชื้นสูง เมืองไทยพบที่ดอยอินทนนท์ ที่เดียว ตั้งแต่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,800 เมตร ขึ้นไป ดอกเป็นช่อ ช่อละ 4 - 12 ดอก ออกดอกในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือน ธันวาคม ถึง กุมพาพันธ์ . และถือว่าเป็นต้นไม้ประจำชาติเนปาล 2. ดอกสีขาว เป็นไม้พุ่ม ชื่อท้องถิ่นเรียก คำขาว หรือ กุหลาบป่า ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า : Rhododendron moulmeinene Hook มีลำต้นสูง 2 - 8เมตร ลำต้นและกิ่งคดงอมีขนาดใหญ่ ใบเป็นรูปหอกกลับ ( คล้ายใบขนุน) ใบหนา ลักษณะดอกจะแตกต่างจาก กุหลาบพันปีสีแดงคือ ดอกสีขาวมีขนาดใหญ่กว่า แต่จำนวนดอกในแต่ละช่อ จะมีจำนวนน้อยกว่า ( 4 - 8 ดอก )จะพบได้ตั้งแต่พื้นที่ ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตร ขึ้นไป นอกจากนี้ ยังพบที่ บริเวณยอดเขา อุทยานแห่งชาติ เขาหลวง จ.นครศรีธรรมราช อีกด้วย ดอกออกในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือน ธันวาคม ถึง กุมพาพันธ์ จะพบเห็นได้เต็มสองข้างทาง ตั้งแต่ กม. 42 ขึ้นมา ส่วนดอกสีแดงนั้น จะพบได้ในป่า บริเวณกิ่วแม่ปาน หรือ อ่างกา 3. ดอกสีขาว เป็นจำพวกกาฝาก ชื่อท้องถิ่นเรียก กายอม หรือ กุหลาบขาว ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า : Rhododendron veitchianum Hook มีลำต้นสูง 2 - 3 เมตร ลำต้นและกิ่งคดงอ ใบเป็นรูปใข่กลับ ใบหนา อาศัยเกาะอยู่กับต้นไม้ใหญ่ ซอกหิน หรือโขดหิน ที่มีความชุ่มชื้นสูง จะพบได้ตั้งแต่พื้นที่ ป่าดิบเขา ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตร ดอกออกในช่วงเริ่มเข้าฤดูหนาว ระหว่างเดือน ตุลาคม ถึง มีนาคม หมายเหตุ Rhododendron arboreum แบ่งออกได้เป็น 5 ชนิดย่อย (subspecies) มีตั้งแต่สีขาว สีชมพู และสีแดงเข้ม และชนิดย่อย delavayi แบ่งออกเป็นอีก 2 ชนิดย่อย (varieties) คือ var. delavayi และ var. peramoenum ซึ่งมีใบแคบและยาวกว่า และสิ่งปกคลุมใต้ท้องใบไม่หนาแน่น พบเฉพาะที่อินเดียและจีนด้านตะวันตก อนึ่ง ชื่อชนิดย่อย delavayi ตั้งเป็นเกียรตินักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส P?re Jean Marie Delavay (1834 - 1895)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น