วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ดอกหิรัญญิการ์
ดอกหิรัญญิการ์
ชื่อวิทยาศาสร์ Beaumontia brevityba. Oliv. ตระกูล APOCYNACEAE ชื่อสามัญ Nepal Trumpet
ลักษณะทั่วไป
ต้น หิรัญญิการ์เป็นไม้เถาใหญ่เนื้อแข็ง ทุกส่วนของลำต้นหรือเถาจะมียางสีขาว ส่นยอดหรือส่วนอื่นๆ ที่ยังอ่อนอยู่จะมีขนสีน้ำตาลอมแดงขึ้นปกคลุม หิรัญญิการ์มักเลื้อยเกาะพันต้นไม้อื่นและสามารถ เลื้อยไปได้ไกลประมาณ 15 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาแผ่เป็นพุ่มแน่นเฉพาะส่วนยอดหรือ บริเวณที่ได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ ใบ หิรัญญิการ์เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกใบเป็นคู่ตรงข้ามกันตามข้อต้นลักษณะใบหยาบยาวหนา รูปใบมน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ขอบใบเรียบ เกลี้ยง ไม่มีจัก ใบมีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร และ กว้างป ระมาณ 4-6 เซนติเมตร ใบด้านบนเป็นมัน
ดอก ดอกหิรัญญิการ์มีขนาดใหญ่ สีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกมีลักษณะคล้ายถ้วย ตอนปลายของดอกจะบานกว้างมี 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ติดอยู่กับเนื้อบริเวณ โคนกลีบ มีลักษณะเป็นเส้นยาว แยกออกจากกัน คือจะมีเกสรติดอยู่กลีบละ 1 อัน หนึ่งดอกมีเกสร ตัวผู้อยู่ 5 อัน ส่วนเกสรตัวเมียจะมีลักษณะเป็นแท่งขนาดเล็กซ่อนอยู่ข้างในดอก ดอกเมื่อบานเต็ม ที่จะมีความกว้างประมาณ 8 เซนติเมตรและยายประมาณ 13 เซนติเมตร ช่อดอกหนึ่ง ๆ จะมีดอกตั้ง แต่ 6-15 ดอก ดอกจะผลัดกันบานครั้งละประมาณ 4 ดอก
“หิรัญญิการ์" เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก ดังนั้นหากต้องการเลี้ยงเป็นซุ้ม ตัวซุ้มควรมีความแข็งแรง ช่วงแรกต้องใช้การค้ำยันพอสมควร แต่เมื่อถึงในระดับหนึ่งเขาจะทรงได้ด้วยตัวเอง เพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง สามารถเลื้อยไปได้ไกลกว่า 10 เมตร เนื่องจากเป็นไม้ดอกเธอจึงชอบกินแสงแดดเป็นอาหาร ต้องให้เธอโดนแดดประมาณว่ากลางแจ้งเลย แต่เบื่อตรงนี้ทุกส่วนจะมียาง คุณพี่ชายไม่ค่อยชอบไม้ประเภทมียางสักเท่าไหร่ แต่ท่านเห็นดอกที่กำลังเบ่งบานในปีแรกแล้ว ท่านบอกว่าแบบนี้มียางก้อรับได้นะคะ ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ สบายจมูกและสดชื่น ดอกของเธอจะมีสีขาว ดีไซน์คล้ายแตร จะให้ดอกช่วงปลายปีไปถึงต้นปี ช่อดอกแต่ละช่อมีมากกว่า 10 ดอก แต่จะไม่บานพร้อมกัน ดังนั้นแม้ว่าหิรัญญิการ์จะมีอายุของดอกไม่ยาวนัก แต่จะมีการผลัดกันบานและการโรยอย่างต่อเนื่องนะคะ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น